BEATNIQ : Live the Notable Life

(Advertorial by Club VI)

ช่วงโควิด-19 ผู้คนไปไหนมาไหนไม่ค่อยสะดวก จึงใช้เวลากับ “บ้าน” หรือ “ที่อยู่อาศัย” มากขึ้นกว่าเดิม คนที่ยังไม่มีบ้านเป็นของตัวเองก็อยากมีบ้าน ใครที่มีบ้านอยู่แล้ว ก็อยากทำให้บ้านของตัวเองน่าอยู่มากขึ้น

การลงทุนกับ “บ้าน” และ “ที่อยู่อาศัย” กลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้

โดยส่วนตัว ผมชอบอยู่ “คอนโดมิเนียม” ครับ เนื่องจากสะดวก ดูแลง่าย ปลอดภัย แต่ด้วยความเป็น “นักลงทุน” หากจะเลือกซื้อคอนโดฯ สักแห่ง นอกจากต้องอยู่สบาย มีทุกสิ่งครบครันแล้ว 

สำคัญที่สุดคือต้องเหมาะสำหรับ “การลงทุน” ปล่อยเช่าได้ “ง่าย” และ “เร็ว”

ผมเพิ่งได้รู้จักคอนโดมิเนียมโครงการหนึ่ง … ชอบมากๆ 

“Beatniq” คอนโดมิเนียมระดับ luxury โดย SC Asset อยู่ริมถนนสุขุมวิท ใกล้ BTS ทองหล่อเพียง 250 เมตร

ด้วยรูปแบบห้องที่เน้นการใช้งานและดีไซน์อันลงตัว มาพร้อมวิวแบบ “โล่งทุกทิศ” ไม่มีอะไรบดบังสายตา อีกทั้งการออกแบบภายนอกและภายในก็ “สวย” แปลกตา 

การอยู่อาศัยที่นี่ จึงให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจาก “บ้าน” 

พิเศษที่สุด คือบริการ Concierge Service เสมือนผู้ช่วยส่วนตัวระดับมาตรฐานโรงแรม

ทั้งหมดที่กล่าวมา อยู่ในระดับราคาเพียง “สองแสนนิดๆ” ต่อตารางเมตร ซึ่งหาไม่ได้อีกแล้ว สำหรับคอนโดฯ ใหม่ระดับ luxury บนทำเลนี้

ใครที่กำลังมองหาคอนโดฯ ดีๆ แนะนำโครงการนี้มากๆ ครับ และถ้าอยากซื้อเพื่อ “ลงทุน” อยากให้ลองพิจารณาห้อง“Penthouse” 166 ตารางเมตร ที่ demand กำลังมา และบอกได้เลยว่า “rare” สุดๆ 

ตอนนี้เหลือเพียง “ห้องเดียว” เท่านั้น เพราะก่อนหน้านี้ Penthouse Pool Villa 200 ตารางเมตร เพิ่งจะขายออกไป

หรือจะเป็นห้อง Junior Penthouse ก็น่าสนใจ ตัวห้องมีความสูงถึง 5.6 เมตร  บวกกับ Master Bedroom ขนาดใหญ่เรียกได้ว่าปลอดโปร่งโล่งสบายหายห่วง เช่นเดียวกับ 2-Bedroom ที่น่าอยู่ไม่แพ้กัน ขณะนี้มีผู้จองซื้ออย่างรวดเร็วหนึ่งในนั้นคือ “ห้องแต่งครบ” ขนาด 107 ตารางเมตรที่เพิ่งขายไป ตกแต่งโดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Karl Lagerfeld 

ทั้งหมดนี้ตอกย้ำให้เห็นว่า แม้เศรษฐกิจจะไม่ดี แต่ตลาดคอนโดฯ luxury ยังมี demand ตลอด ซื้อง่าย ขายคล่องเหมาะสำหรับการลงทุน

ที่สำคัญ ทั้งอาคารมีเพียง 197 ยูนิต ไม่แออัด-พลุกพล่าน ส่วนกลางพร้อมสรรพ ประกอบกับ Concierge Service ระดับโรงแรมที่ได้กล่าวไป ก็ยิ่งเป็นหัวใจที่ช่วยให้ property มี value ยิ่งขึ้น

นักลงทุนอย่างเราๆ หากสนใจมองไว้เป็นทางเลือกเพื่อให้เงินงอกเงย อยากให้รีบไปดูกัน ของดีมีอีกไม่มาก นัดเข้าไปชมส่วนตัวได้เลยที่ลิงค์นี้ https://lin.ee/3GVztBsNX หรือโทร 1749

ข้อมูลเพิ่มเติม ดูได้ที่นี่ https://m.scasset.com/4v8-

หุ้นไทยไม่ไปไหน .. ลองมองคอนโดฯ หรูไว้ลงทุนกันนะครับ

12 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ “ซุปเปอร์ลีก” ดีลช็อควงการลูกหนังโลก

เขียนและเรียบเรียงโดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

  1. ซุปเปอร์ลีก (Super League) เป็นการจัดแข่งขันฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลชั้นนำ 15 สโมสรในยุโรป ได้แก่ มิลาน อาร์เซนอล แอตมาดริด เชลซี บาร์เซโลน่า อินเตอร์ ยูเวนตุส ลิเวอร์พูล แมนซิตี้ แมนยู รีลมาดริด ท็อตแน่มฮ็อทสเปอร์ และสโมสรที่ยังไม่เปิดเผยชื่ออีก 3 สโมสร โดยไม่มีสโมสรจากเยอรมนีและฝรั่งเศส (จึงไม่มีทีมอย่าง PSG หรือ บาเยิร์น มิวนิค)
  2. ผู้ที่เสียประโยชน์เต็มๆ ย่อมจะเป็น “ยูฟ่า” องค์กรฟุตบอล ซึ่งเป็นผู้จัดแข่ง ยูฟ่าแชมเปี้ยนส์ลีก (UCL) รวมถึงยูฟ่ายูโรป้าลีก (UEL) ที่ทีมเหล่านี้ร่วมแข่งขันอยู่ แต่แถลงการณ์ของซุปเปอร์ลีกก็บอกว่า ต้องการจะเจรจากับทั้งฟีฟ่าและยูฟ่า เพื่อให้ลีกที่จะตั้งขึ้นมาใหม่นี้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ และเป็นผลบวกต่อโลกฟุตบอลโดยรวม (ประเด็นนี้ผมมองว่าน่าจะเป็นการแสดงออกในเชิงการทูตมากกว่าการแสดงท่าทีอย่างจริงจัง – แอดมิน)
  3. แถลงการณ์ระบุว่า เหตุที่ต้องตั้ง ซุปเปอร์ลีก ขึ้นมา ก็เพราะการระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลให้ “ความไร้เสถียรภาพ” ของ “โมเดลทางเศรษฐกิจ” ของฟุตบอลยุโรปถูกเร่งขึ้นอย่างรุนแรง (แปลเป็นภาษาชาวบ้านคือ ทำให้รายได้หดหาย การจัดแข่งขันบอลยุโรปแบบเดิมๆ ของยูฟ่า ทำเงินให้สโมสรชั้นนำต่างๆ ไม่ได้เหมือนแต่ก่อน – แอดมิน)
  4. แถลงการณ์ระบุด้วยว่า อีกสาเหตุหนึ่งที่ต้องตั้งซุปเปอร์ลีก ก็เพราะสโมสรที่จะร่วมกันก่อตั้งนี้ มีความพยายามมานานแล้ว ที่จะหาทางเพิ่มคุณภาพและความเข้มข้นของการแข่งขันฟุตบอลยุโรป ด้วยการสร้างรูปแบบที่จะทำให้ทีมชั้นนำได้มาฟาดแข้งกันเป็นประจำ 
  5. เมื่อเกิดโควิดขึ้น จึงต้องอาศัยวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์และวิธีทางการค้าใหม่ เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนประโยชน์ของ “พีรามิดฟุตบอลยุโรป” (ผมมองว่าน่าสนใจมากๆ ที่ใช้วลี “พีระมิดฟุตบอล” แต่ในแถลงการณ์ไม่ได้มีการขยายความวลีนี้ – แอดมิน)
  6. แถลงการณ์อ้างด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีความพยายามในการพูดคุยหาทางออกกันมาแล้วหลายรอบ แต่ทางผู้ก่อตั้งซุปเปอร์ลีกไม่เชื่อว่าทางออกที่มีการเสนอกันออกมา จะสามารถแก้ปัญหาเชิงพื้นฐาน โดยจัดให้มีการแข่งขันฟุตบอลคุณภาพสูง และเป็นแหล่งทรัพยากรทางการเงินอันน่าพอใจสำหรับบรรดาสโมสรต่างๆ ได้
  7. การแข่งขันซุปเปอร์ลีก จะประกอบไปด้วย 20 สโมสร โดยนอกจากสโมสรผู้ก่อตั้ง 15 สโมสร จะมีกลจักรในการสรรหาอีก 5 สโมสรมาร่วมแข่งขันกันในแต่ละฤดูกาล โดยพิจารณาจากความสำเร็จและผลงานในฤดูกาลก่อนหน้า (แถลงการณ์ไม่ได้ระบุถึงทีมที่จะถูกคัดออกหรือตกชั้น ว่ามีระบบอย่างไร – แอดมิน)
  8. การแข่งขันจะมีขึ้นในช่วงกลางสัปดาห์ ซึ่งหมายความว่าแต่ละสโมสรจะสามารถเตะตามโปรแกรมลีกในประเทศของตนเอง ที่ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของตารางการแข่งขันของสโมสรต่างๆ ไปได้ตามปกติ (แต่ก็อย่างที่ตั้งข้อสังเกตไปแล้วว่า ที่กระทบเต็มๆ ย่อมจะเป็น UCL และ UEL ของยูฟ่า หรือถ้าจะพูดให้ชัด นี่อาจเป็นรายการที่จะมาทดแทน UCL เลยก็ว่าได้ – แอดมิน) 
  9. การแข่งขันจะเริ่มต้นในเดือน ส.ค. (ช่วงเริ่มต้นลีกในประเทศของฟุตบอลยุโรป) โดยจะแบ่งเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 10 ทีม เล่นเหย้าเยือนกัน สามทีมแรกของแต่ละกลุ่มจะได้ผ่านเข้าไปเล่นรอบก่อนรองชนะเลิศโดยอัตโนมัติ ทีมอันดับ 4 และ 5 จะเล่นสองเลกแบบเหย้าเยือน เพื่อชิงตั๋วใบสุดท้ายของแต่ละกลุ่ม ซึ่งจะทำให้ได้ทีมที่จะเล่นรอบก่อนรองฯ ครบ 8 ทีม ส่วนรองรองชนะเลิศก็จะเล่นสองเลกเช่นกัน แล้วไปชิงชนะเลิศแบบเลกเดียวที่สนามเป็นกลาง
  10. ประเด็นนี้สำคัญมาก แถลงการณ์ระบุว่า ทัวร์นาเม้นท์ใหม่นี้จะช่วยสร้างการเติบโตและการสนับสนุนทางเศรษฐกิจให้กับฟุตบอลยุโรปในระยะยาว ด้วย “uncapped solidarity payment” หรือเงินสนับสนุนที่จะแบ่งให้แต่ละสโมสรโดยแปรผันตามรายได้ที่ทำได้ โดย “ไม่มีการกำหนดเพดาน” (พูดง่ายๆ คือ ถ้าซุปเปอร์ลีกทำเงินได้มาก แต่ละสโมสรก็ได้ส่วนแบ่งมากขึ้นไปเรื่อยๆ) ซึ่งคาดว่าจะสูงกว่าส่วนแบ่งที่ได้จากการแข่งขันฟุตบอลยุโรปในปัจจุบัน และคาดว่าจะสูงกว่า 10,000 ล้านยูโร ตลอดช่วงระยะเวลาที่ตกลงร่วมกันแข่งขัน (ไม่ได้ระบุว่าระยะเวลาเบื้องต้นคือจะแข่งกันกี่ฤดูกาล – แอดมิน)
  11. ที่สำคัญมากๆ เช่นกัน คือสโมสรที่ตกลงปลงใจมาร่วมกันก่อตั้งลีก จะได้รับเงินทันที สโมสรละ 3,500 ล้านยูโร เพื่อเอาไปใช้เป็นทุนสำหรับลงทุนและบำรุง facility ต่างๆ รวมทั้งชดเชยความเสียหายจากผลกระทบของโควิด-19 (แถลงการณ์ไม่ได้ระบุว่า เงิน 3,500 ล้านยูโรต่อสโมสร รวม 15 สโมสรก็เท่ากับ 5.25 หมื่นล้านยูโรนี้ จะมาจากแหล่งใด แต่ผมเดาเอาเองว่าน่าจะมาจากเงินกู้ ที่ทางนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นมาเพื่อจัดการแข่งขัน จะกู้จากสถาบันการเงินระดับโลก แล้วเอามาจ่ายให้สโมสรผู้ร่วมก่อตั้ง – แอดมิน)
  12. ฟลอเรนติโน เปเรซ ประธานสโมสรรีล มาดริด และประธานคนแรกของซุปเปอร์ลีก บอกว่า “เราจะช่วยฟุตบอลในทุกๆ ระดับ โดยช่วยให้มันได้อยู่ในจุดที่เหมาะสมของโลก”

และนี่คือรายละเอียดเกี่ยวกับซุปเปอร์ลีก initiative ช็อคโลกที่ประกาศออกมาเมื่อไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ซึ่งดูจากท่าทีแล้ว คงไม่ใช่แค่ลีลาการต่อรองกับยูฟ่า แต่น่าจะเป็นเรื่องจริง แต่ทางยูฟ่ารวมถึงองคาพยพอื่นๆ ของโลกฟุตบอลจะมีท่าทีอย่างไรต่อไป คงต้องรอดูกันต่อไปครับ

——–

Credit : ภาพและข้อมูลประกอบจากแถลงการณ์ของสโมสร ท็อตแน่ม ฮ็อทสเปอร์ https://www.tottenhamhotspur.com/news/2021/april/leading-european-football-clubs-announce-new-super-league-competition/?fbclid=IwAR2H_vucoDcSutkpIRdGe6XW0EHIDAmVlypX2coI-jxZQm4IKwpTdwCVTd0

ไม่ซื้อตอนนี้จะซื้อตอนไหน! เมื่อโควิดทำให้คนอเมริกันแห่ซื้อบ้าน

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

ยอดขายบ้านในสหรัฐฯ เดือน ก.ค. พุ่งกระฉูด โดยเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย. ถึง 24.7% ถือเป็นการปรับตัวขึ้นมากที่สุดแบบเดือนต่อเดือนนับตั้งแต่ปี 1968 และเป็นการเพิ่มในอัตราเร่งสูงสุดนับตั้งแต่ ธ.ค. 2006 ก่อนฟองสบู่บ้านแตกจนกลายเป็นวิกฤตซับไพร์ม คิดเป็นจำนวนยูนิตที่เพิ่มถึง 5.86 ล้านยูนิตเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

ทั้งนี้ คาดว่าสาเหตุน่าจะมาจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่อาศัยซึ่งต่ำลงเป็นประวัติการณ์ ทำให้ตลาดอสังหาพ้นจากความซบเซาที่ต่อเนื่องยาวนานได้ในที่สุด โดยก่อนหน้านี้ อุปสงค์บ้านร่วงหนักลงกว่าเดิมในช่วงฤดูใบไม้ผลิที่ผ่านมาเพราะโคโรนาไวรัส ก่อนจะหักหัวกลับขึ้น 

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของสมาคมนายหน้าอสังหาริมทรัพย์แห่งชาติ (NAR) ชี้ว่า ขณะนี้ตลาดอสังหาได้ผ่านช่วงฟื้นตัว (Recovery Stage) เข้าสู่ช่วงเฟื่องฟู (Booming stage) เป็นที่เรียบร้อย

หากมองให้ลึกลงไปจะพบตัวเลขที่น่าสนใจหลายตัว เช่น ยอดขายเดือน ก.ค. ที่พุ่งสูงขึ้นนั้น มาจากผู้ที่ซื้อบ้านหลังแรก ซึ่งจำนวนมากเป็นพวกมิลเลนเนียลวัยยี่สิบกว่าถึงสามสิบกว่าถึง 34% โดยมิลเลนเนียลส่วนนึงที่ก่อนหน้านี้ไม่กล้าซื้อบ้านหรือชะลอการแต่งงานไว้เพราะกลัวเงินไม่พอ ก็ตัดสินใจซื้อบ้านในช่วงนี้

เรียกได้ว่า ดอกลงมาต่ำขนาดนี้ ถ้าไม่ซื้อตอนนี้แล้วจะซื้อตอนไหน !!

โดยจากยอดขายที่ปรากฏในเดือน ก.ค. แสดงให้เห็นว่า ผู้ซื้อส่วนใหญ่ตัดสินใจตั้งแต่เดือน พ.ค. หรือ มิ.ย. ขณะโดน “ล็อคดาวน์” อยู่กับบ้านนั่นเอง อาจมองได้ว่าวิกฤตโควิดแม้จะรุนแรงเพียงใด แต่ก็เป็นโอกาสให้คนจำนวนมากได้ครอบครองนิวาสถานเป็นของตนเอง

ทว่าในอีกด้านหนึ่ง อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าอุปทาน ก็ทำให้ราคาบ้านระดับกลางพุ่งสูงขึ้นประมาณ 8.5% มาอยู่ที่ 304,000 เหรียญ กลายเป็น “นิวไฮ” ซึ่งก็แปลว่าแม้จะจ่ายดอกถูก แต่คนที่ซื้อช้าก็อาจจะต้องซื้อบ้านในราคาแพงขึ้น

ซึ่งแน่นอนว่า ยอดขายบ้านที่พุ่งสูงขึ้น ย่อมส่งผลบวกต่อเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่กระทบหนักจากการระบาดของโคโรน่าไวรัส และน่าจะมีส่วนช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น


ข้อมูลประกอบจาก WSJ