หลักสูตร Valuation & DCF ออนไลน์ (new) !!

IMG_8950

สิ้นสุดการรอคอย! กับหลักสูตร Valuation & DCF โดย Club VI ครั้งแรกในรูปแบบออนไลน์ สมัครระหว่าง 21 – 23 มิ.ย. 2563 ลดเหลือเพียง “1,949 บาท” เท่านั้น!!

หลักสูตร Valuation & DCF ที่ถือเป็นคอร์สสัมมนา “signature” ของ Club VI มีผู้เข้ารับการอบรมมาแล้วเกือบหนึ่งพันคน จัดมาแล้ว 9 รุ่น วันนี้พร้อมให้ท่านรับชมในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรกทางกลุ่มปิด Facebook .. สะดวก เข้าใจง่าย ดูซำ้กี่รอบก็ได้ ในราคาประหยัดสุดๆ

“นี่คือหลักสูตรประเมินมูลค่าหุ้นที่ครอบคลุมและเจาะลึกที่สุดเท่าที่เคยมีมาในเมืองไทย พร้อมวิธี DCF แบบจัดเต็ม!!” 

<< ทำไมเราจึงต้องประเมินมูลค่าหุ้นและทำ DCF ให้เป็น >>

หากต้องการลงทุนในแนว “วีไอ” หรือการลงทุนเน้นมูลค่า การรู้ “มูลค่าหุ้น” ย่อมเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อที่จะ “ได้กำไรตั้งแต่เข้าซื้อ” มิเช่นนั้นก็ยากที่จะตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง

นักลงทุนที่ดีจึงต้องเรียนรู้หลักการและวิธี “ประเมินมูลค่าหุ้น” ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น “โมเดลการคิดลดเงินปันผล” หรือ DDM แต่ที่ได้รับการยอมรับที่สุด คงหนีไม่พ้น “การคิดลดกระแสเงินสด” หรือ DCF ซึ่งเป็นวิธีที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนหมายเลขหนึ่งของโลกบอกว่าเขาใช้ในการหามูลค่าหุ้นเพื่อเข้าลงทุน โดยทั้งสองวิธีได้ถูกถ่ายทอดไว้แล้วในหลักสูตรนี้ (ดูรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดด้านล่าง)

ความยาว 5 ชั่วโมง 47 นาที ราคาเต็ม 2,499 บาท

พิเศษ สมัครระหว่าง 21 – 23 มิ.ย. 2563 ลดเหลือเพียง “1,949 บาท” เท่านั้น!! (ถูกลง 550 บาท) 

** หลักสูตรนี้ ผู้เรียนควรมีพื้นฐานเบื้องต้นในระดับหนึ่ง เช่น รู้จักผลตอบแทนทบต้น, อ่านงบการเงินพอเข้าใจ หากไม่มีพื้นฐาน แนะนำให้สมัครหลักสูตร  “พื้นฐานการลงทุนเน้นมูลค่า” (VI 101) และ “อ่านงบการเงิน” (VI 201) อีกสองคอร์ส โดยจ่ายเพิ่มเพียง “999 บาท” ** (ดูรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดด้านล่าง)

สนใจสมัครได้เลย และรอรับ invite เข้ากลุ่มทันที

<< วิธีสมัคร >>

1. โอนเงินเข้าบัญชี บริษัท คลับ วีไอ จำกัด สาขา คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (CDC) มีสามธนาคาร ดังต่อไปนี้

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่: 066-705774-9
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) บัญชีออมทรัพย์ เลขที่: 996-2-06200-5
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บัญชีออมทรัพย์ เลขที่: 404-486287-4

2. ส่งสลิปมาที่ clubvidotcom@gmail.com โดยระบุ

1) หลักสูตรที่ต้องการสมัคร หากสมัคร “Valuation & DCF” หลักสูตรเดียว ให้ระบุว่า “สมัคร DCF” และหากสมัครหลักสูตร VI 101 + VI 201 ด้วย ให้ระบุ​ว่า “สมัคร 3 คอร์ส”

2) ชื่อ Facebook account ที่ท่านจะใช้ชมคอร์สนี้

3. รอการตอบกลับและรับเอกสารประกอบการเรียนทางอีเมล

มีข้อสงสัย กรุณาสอบถามได้ที่ clubvidotcom@gmail.com หรือ Inbox เพจ Club VI

** ผู้เรียนต้องเป็นผู้ใช้ facebook  account นั้นเพียงคนเดียว หากพบว่าเป็น facebook ที่ใช้กันหลายคน ทีมงานขออนุญาตโอนเงินคืนและยกเลิกสถานะค่ะ **

 

<< เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร Valuation & DCF >>

  • เข้าใจการประเมินมูลค่า
  • แนวคิดและคอนเซ็ปต์พื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นตามหลักวีไอ
  • แนะนำการประเมินมูลค่าหุ้นในแนวทางต่างๆ
  • รู้จักการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีคิดลด
  • รู้จักและทำความเข้าใจ “การคิดลด” (discounting)
  • หา “อัตราคิดลด” (discount rate) สอนท่านหาอัตราคิดลดให้เป็น เพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นทุกวิธี
  • การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี “คิดลดเงินปันผล” (DDM) สอนวิธีทำ DDM อย่างละเอียด ให้ท่านประยุกต์ใช้กับ “หุ้นปันผล” ที่หมายตาไว้ได้ทันที
  • การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี “คิดลดกระแสเงินสด” (DCF) โดยเราจะสอนท่านทำ DCF แบบจัดเต็ม พร้อมตัวอย่างและเอกสารประกอบ ให้ท่านทำเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สามารถประยุกต์ไปใช้กับหุ้นที่ท่านสนใจได้ทันที

เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร VI 201 อ่านงบการเงิน อ่านได้ ที่นี่

เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร VI 101 พื้นฐานการลงทุนเน้นมูลค่า อ่านได้ ที่นี่


 

 

13342986_1008396502590634_5290222225672131225_n

ผู้บรรยาย  

สอนและบรรยายเสียงโดย คุณชัชวนันท์ สันธิเดช ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Club VI, นักลงทุน, นักพูด, นักเขียน-นักแปลด้านการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน 17 ปี เป็นผู้เขียนคอลัมน์ Value Way ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ มีผลงานเขียนและแปลหนังสือลงทุนมาแล้วกว่า 35 เรื่อง เช่น หนังสือ “เรียนบัญชีกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์” (Best Seller), หนังสือ “ลงทุนอย่างวีไอพันธุ์แท้” (Best Seller), หนังสือ “ลงทุนอย่างวีไอพันธุ์แท้ #2: วัดพลังหุ้น” (Best Seller), หนังสือแปล “ลงทุนอย่างวีไอในตลาดไซด์เวย์”, หนังสือ “ลงทุนหุ้นอย่างไร กำไรตั้งแต่ซื้อ”, หนังสือแปล “Tap Dancing to Work” , หนังสือแปล “พ่อรวยสอนลูก #2: เงินสี่ด้าน” (Best Seller), หนังสือแปล “บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ” (Best Seller) ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรให้กับบริษัทเอกชนและองค์กรการศึกษาหลายสิบแห่ง และได้รับเชิญไปถ่ายทอดความรู้ผ่านรายการโทรทัศน์และสื่อต่างๆ จำนวนมาก

โคตรเหง้าของ วอร์เรน บัฟเฟตต์

12249651_1057991477586212_3387239749019485759_n

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

หนังสือ “The Snowball” ชีวประวัติของวอร์เรน บัฟเฟตต์ เล่าไว้โดยละเอียดว่า ตระกูลบัฟเฟตต์ ตั้งรกรากในสหรัฐอเมริกามานานแล้ว แม้จะไม่มีหลักฐานชัดเจนนัก แต่ทราบได้ว่ามีอาชีพ “ชาวนา”

“บัฟเฟตต์” คนแรกที่มีหลักฐานว่าเคยมีชีวิตอยู่ คือ จอห์น บัฟเฟตต์ ซึ่งเชื่อกันว่าเขามีเชื้อสายฝรั่งเศส จอห์นอพยพมายังอเมริกาในศตวรรษที่ 17 และมาทำนาอยู่ที่ลองไอส์แลนด์ (ผมสงสัยมานานแล้วว่านามสกุลของบัฟเฟตต์ออกไปทางฝรั่งเศส เป็นเพราะอย่างนี้นี่เอง)

หลังจากนั้นอีกเจ็ดเจเนอเรชั่น จึงปรากฏชื่อของ เซบูลอน บัฟเฟตต์ ชาวนาในลองไอส์แลนด์ ซึ่งเป็นคนตระกูลบัฟเฟตต์คนแรกที่มีหลักฐานชัดเจนว่ามีตัวตนอยู่จริง

หลานชายของเซบูลอน ชื่อ ซิดนีย์ บัฟเฟตต์ เดิมทำงานอยู่ในฟาร์มของเซบูลอน (เซบูลอนเป็นปู่ของซิดนีย์) แต่ต่อมาก็เลิก เพราะไม่พอใจที่ได้ค่าจ้างน้อย ก่อนจะย้ายถิ่นฐานไปยังโอมาฮา รัฐเนบราสก้า เพื่อไปช่วยงานในธุรกิจของคุณตา และนั่นคือครั้งแรกที่คนตระกูลบัฟเฟตต์เข้ามาตั้งรกรากในโอมาฮา

ต่อมา ซิดนีย์แยกออกไปเปิดร้านขายของชำของตัวเอง ร้านของเขาขายผัก ผลไม้ ไพ่ และของเล่นต่างๆ ซิดนีย์เป็นคนขยัน เปิดร้านถึงห้าทุ่มทุกวัน จนธุรกิจของเขาเจริญรุ่งเรืองขึ้นเรื่อยๆ

ซิดนีย์มีลูกหกคน ตายไปสี่คน สองคนที่ไม่ตาย คือ เออร์เนสต์ และแฟรงก์ ทั้งสองต่างก็ช่วยงานในร้านของพ่อ

วันหนึ่ง มีสาวสวยคนหนึ่งชื่อ เฮนเรียตต้ามาสมัครงาน ทั้งเออร์เนสต์และแฟรงก์ต่างก็แย่งกันจีบ แต่เออร์เนสต์หล่อกว่า จึงจึบได้ ซึ่งทำให้แฟรงก์เจ็บใจมาก หลังจากนั้น สองพี่น้องไม่พูดคุยกันอีกเลยจนวันตาย โดยแฟรงก์ไม่ยอมแต่งงานตลอดชีวิตด้วย

เออร์เนสต์ กับเฮนเรียตต้า มีลูกสามคน คนสุดท้องคือ โฮเวิร์ด (พ่อของวอร์เรน) หลังจากแต่งงาน ทั้งคู่แยกออกมาเปิดร้านขายของชำของตัวเอง โดยร้านใหม่นี้ เออร์เนสต์ร่วมหุ้นกับซิดนีย์ ผู้พ่อ

โฮเวิร์ด ลูกของเออร์เนสต์ ได้เข้าเรียนในโรงเรียนลูกคนรวย เขาจึงรู้สึกแปลกแยกอยู่ไม่น้อย เพราะพ่อของเขาเป็นแค่เจ้าของร้านขายของชำ อีกทั้งตัวโฮเวิร์ดยังเป็นเด็กส่งหนังสือพิมพ์ (ต่อมา วอร์เรนก็ส่งหนังสือพิมพ์ตามรอยพ่อ) และยังใส่เสื้อผ้าเก่าๆ ที่ถูกโละมาจากพี่สองคน แต่เขาก็ยังรักดี และเรียนดีด้วย

โฮเวิร์ดเข้าเรียนที่คณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนบราสก้า เขาเป็นกอง บก. หนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัย ต่อมา เขาพบกับเลล่า (แม่ของวอร์เรน) ซึ่งเป็นคนสนใจในงานด้านสื่อสิ่งพิมพ์เหมือนกัน ทั้งคู่แต่งงานกันและมีลูกสามคน คือ ดอริส วอร์เรน และโรเบิร์ตต้า

ต่อมา โฮเวิร์ดกลายเป็น “นักลงทุน” และเปิดบริษัทลงทุนของตัวเอง ทั้งยังลงเล่นการเมือง และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. พรรครีพับลิกัน เขาเป็นนักการเมืองที่ซื่อสัตย์ และเชื่อมั่นในทุนนิยมอย่างยิ่ง

วอร์เรน บัฟเฟตต์ บอกว่า โฮเวิร์ดผู้พ่อคือต้นแบบของเขา ซึ่งเมื่อดูจากประวัติชีวิตของปู่ ก็พบว่าเป็นจริงตามนั้น ไม่ว่าจะเป็นการหาเงินด้วยการส่งหนังสือพิมพ์ และการเลือกอาชีพเป็นนักลงทุน วอร์เรนล้วนเดินตามรอยพ่อทั้งสิ้น ยกเว้นเรื่องการเมือง ที่ปู่หันมาสนับสนุนพรรคเดโมแครต ไม่เหมือนพ่อที่เป็นลูกหม้อรีพับลิกัน (ส่วนหนึ่งเพราะซูซี่ ภรรยาสุดที่รักของปู่เป็นนักสิทธิมนุษยชนซึ่งมาในแนวเดโมแครต)

ผมจบบทความนี้ ด้วยข้อความที่เซบูลอน บัฟเฟตต์ (ปู่ของปู่ของพ่อของวอร์เรน) เคยเขียนถึงซิดนีย์ผู้เป็นหลาน หลังจากซิดนีย์ทิ้งปู่และอพยพไปยังโอมาฮา จนกลายเป็นรกรากใหม่ของตระกูลบัฟเฟตต์จนถึงทุกวันนี้ โดยคำสอนในกระดาษนี้เอง เป็นสิ่งยืนยันถึงการมีตัวตนของเซบูลอน ซึ่งเป็นตระกูลบัฟเฟตต์คนแรกที่ยืนยันได้ว่าเคยมีชีวิตอยู่

เนื้อหามีดังนี้

“เวลาดีลอะไรกับใคร ต้องตรงเวลา”

“คนบางคนดีลอะไรด้วยยาก ให้พยายามหลีกเลี่ยง”

“จงรักษาเครดิตไว้ให้ดี เพราะมันเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าเงิน”

“หากจะทำธุรกิจ จงพอใจกับผลตอบแทนระดับปานกลาง อย่าดิ้นรนจะรวยมากเกินไป”

“จงใช้ชีวิตให้พอเหมาะ อยู่ให้พอควร ตายให้พอดี”

ด้วยหลักในการดำเนินชีวิตตรงนี้ ทำให้คนในตระกูลบัฟเฟตต์ทุกคน ไม่มีใครยากจน แม้จะไม่มีใครทิ้งมรดกมากมายไว้ให้ลูกหลาน แต่ก็ไม่เคยมีใครจากโลกนี้ไปตัวเปล่าๆ ด้วยนิสัยรู้จักเก็บออมและใช้ชีวิตต่ำกว่าฐานะ

คำสอนอันล้ำค่าของตระกูลบัฟเฟตต์ ที่ตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น โดยเฉพาะจากโฮเวิร์ดผู้เป็นพ่อ น่าจะมีส่วนทำให้ วอร์เรน บัฟเฟตต์ สร้างตัวเองขึ้นมา จนกลายเป็นนักลงทุนและนักบุญที่ยิ่งใหญ่เช่นทุกวันนี้

——————

(ข้อมูลประกอบจากหนังสือ The Snowball ครับ)

 

หนึ่งวันของบัฟเฟตต์

12249651_1057991477586212_3387239749019485759_nโดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

อยากรู้ไหมครับว่า ในแต่ละวันของนักลงทุนที่ดีที่สุดในโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟตต์ นั้น แกทำอะไรบ้าง

กิจวัตรในวันปกติของปู่ แกจะขับรถจากบ้านซึ่งอยู่มากว่าสี่สิบปี ระยะทางประมาณ 1.5 ไมล์ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที เพื่อไปทำงานที่ตึกคีวิต พลาซ่า ซึ่งเป็นที่ตั้งของ เบิร์คเชียร์ แฮธาเวย์ โดยแกนั่งทำงานที่นั่นมาสี่สิบกว่าปีเช่นกัน

เมื่อไปถึงที่ทำงานตอนเช้าเวลาไม่เกินแปดโมงครึ่ง ปู่จะนั่งลงที่โต๊ะ และเริ่มต้นวันด้วยการเปิดโทรทัศน์ช่อง CNBC แต่ปิดเสียงไว้ แล้วเอาหนังสือพิมพ์ วารสาร ตลอดจนจดหมายข่าวต่างๆ มาไล่อ่านไปเรื่อยๆ พลางเหลือบมองดูจอทีวีเป็นระยะ

หลังจากนั้นทั้งวัน ปู่ก็จะไล่อ่านข้อมูลของบริษัทในเครือเบิร์คเชียร์ที่เข้ามาในทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นอีเมล จดหมาย แฟกซ์ ดูว่าบริษัทไหนเป็นอย่างไร ยอดขายสัปดาห์ที่แล้วเป็นเท่าไร ธุรกิจในยุโรปเป็นอย่างไรบ้าง รวมทั้งทุกๆ แง่มุมเกี่ยวกับธุรกิจ 

จะเห็นได้ว่า การติดตามบริษัทที่อยู่ในพอร์ตของเบิร์คเชียร์ คือ “งานหลัก” ของปู่

จากนั้น เมื่อมีเวลาว่าง ปู่ก็จะเอา Annual Report หรือรายงานประจำปีของบริษัทที่ BRK ไม่ได้มีหุ้นอยู่นับเป็นร้อยๆ บริษัทออกมาอ่าน บ้างก็เป็นบริษัทที่แกสนใจ บ้างก็ “อ่านเผื่อไว้เฉยๆ”

ในระหว่างที่อ่านโน่นอ่านนี่อยู่นั้น ก็จะมีโทรศัพท์เข้ามาเป็นระยะ และเข้ามาแทบจะทั้งวัน ซึ่งถ้ารับได้แกก็จะรับเอง แต่หากเป็นสายซ้อน เลขาฯ แกจะรับให้ โดยบางคนที่โทรเข้ามาเป็นครั้งแรกถึงกับช็อค เมื่อพบว่าเสียงที่ปลายสาย คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์

จะเห็นได้ว่า วันทั้งวันของปู่ หลักๆ ก็มีแค่การ “อ่าน” กับ “รับโทรศัพท์” อยู่อย่างนี้ ยกเว้นบางวันที่แกต้องออกไปประชุมคณะกรรมการของบริษัทในเครือ หรือออกไปพบเพื่อนฝูง จึงจะแตกต่างไปจากนี้

ในช่วงค่ำ แกมักจะไปดินเนอร์ที่ร้านเดิมๆ ซึ่งมักจะเป็นร้านสเต๊กหรือแฮมเบอร์เกอร์ หลังจากนั้นจึงกลับบ้านมาเล่นเกมบริดจ์ทางอินเตอร์เน็ตไปเรื่อยๆ ระหว่างนั้นแกมักจะร้องหา “เครื่องดื่มโค้ก”เป็นระยะ คำพูดที่พูดประจำคือ “แอสทริด (ชื่อภรรยาคนที่สอง) ขอโค้กกระป๋องนึง”

โดยรวมๆ ปู่ใช้เวลาเล่นบริดจ์ออนไลน์ประมาณ 12 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และดื่มโค้กตั้งแต่เช้าจนเข้านอนประมาณ 4 กระป๋องต่อวัน

ทั้งหมดนี้ คือกิจวัตรประจำวันของวอร์เรน บัฟเฟตต์ บุรุษที่ร่ำรวยเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ซึ่งทุกคนสามารถปรับเอาไปใช้กับชีวิตตัวเองได้

ผมอยากชี้ให้เห็นว่า แม้ชีวิตของปู่จะดูเรียบง่ายจนน่าเบื่อ แต่แกทำเฉพาะใน “สิ่งที่มีสาระ” และมีการ “จัดลำดับความสำคัญ” ไว้เป็นอย่างดี เช่น แกจะให้เวลากับ “บริษัทในเครือ” ก่อน จากนั้นเมื่อมีเวลาว่างจึงแบ่งเวลาไปศึกษาข้อมูลของบริษัทอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เป็นเจ้าของ เป็นความสำคัญในลำดับรองๆ ลงมา

นอกจากนี้ แกไม่เคยเสียเวลาให้กับอะไรที่ไร้ประโยชน์ แกขับรถไปทำงานแค่ห้านาที เลิกงานแล้วก็ไม่ได้ไปกินอาหารหรูหรา หรือสังสรรค์ที่ไหน รีบกิน รีบกลับบ้าน และแม้เวลาพักผ่อนก็ยังมาเล่นเกมบริดจ์ ซึ่งเป็นเกมลับสมอง ไม่ได้ไปตามจับโปเกมอนหรืออ่านไทม์ไลน์เฟซบุ๊กไปเรื่อยๆ 

แม้วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะรวยกว่าเรามหาศาล แต่สิ่งหนึ่งที่แกกับเรามีไม่ได้ต่างกันเลยคือ “เวลา” และการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิผลนี่แหละ ที่ทำให้แกยิ่ง “ห่าง” กับคนธรรมดาอย่างเราๆ มากขึ้นไปอีก

รู้อย่างนี้แล้ว เราๆ ท่านๆ ก็ควรจะบริหารเวลาของตัวเองกันให้ดีๆ ยี่สิบสี่ชั่วโมงเท่ากัน จะทำอย่างไร คุณเลือกเองครับ!


คอร์สสัมมนาหุ้นโดย Club VI 5-6 พ.ย. นี้ คลิกที่นี่