ลงทุนยังไงในตลาดหุ้นเวียดนาม

(recap : FB Live by Club VI X Jitta Wealth)

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

ผม recap บทสนทนากับคุณ เผ่า ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ CEO Jitta Wealth จากการพูดคุยทาง FB Live เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. ที่ผ่านมา สนใจลองอ่านดูนะครับ

> ที่มา 

– “เผ่า” ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ ผู้ก่อตั้ง Jitta ลงทุนในหุ้นสหรัฐฯ มาตั้งแต่เรียนอยู่ที่นั่น 

– เขามองว่า ตามหลัก Value Investment ธุรกิจที่ดีควรจะมี pattern ที่เหมือนกัน เช่น รายได้ควรจะเติบโตต่อเนื่อง margin ควรจะสม่ำเสมอ หนี้สินควรจะอยู่ในระดับหนึ่งๆ ฯลฯ จึงได้สร้าง tool ขึ้นมา เพื่อที่จะสามารถวิเคราะห์งบของบริษัทที่มีอยู่เป็นพันๆ โดยได้ร่วมกับเพื่อนที่เป็น engineer เอาเกณฑ์การวิเคราะห์งบต่างๆ ใส่ code เป็นอัลกอริธึ่ม 

– tool ของ Jitta จะช่วยในการคัดกรอง-วิเคราะห์หุ้น โดยปัจจุบันครอบคลุมหุ้น 16 ประเทศ เช่น อเมริกา จีน อินเดีย สิงคโปร์ ไตัหวัน อังกฤษ ฯลฯ ข้อมูลทั้งหมดให้ใช้ฟรี สามารถเข้าไปดูได้ที่ Jitta.com 

– ต่อมา จึงก่อตั้ง Jitta Wealth ในรูปแบบ บลจ. โดยรับบริหารจัดการเงินให้นักลงทุน

– ทางเลือกในการลงทุนกับ Jitta Wealth มีสามแบบ 

หนึ่งคือ Jitta Ranking ใช้อัลกอริธึ่มของจิตตะในการเลือกหุ้นตามหลัก Value Investment

สองคือ Global ETF ลงทุนในหุ้น 80% พันธบัตร 20% โดยกระจายความเสี่ยงไปยัง ETF ทั่วโลก

สามคือ Themetic ให้นักลงทุนเลือกธีมในการลงทุนได้เอง เช่น Healthcare , E-commerce, Fintech, AI, Clean Energy, etc. สามารถเลือกได้สูงสุด 5 theme โดย Jitta Wealth จะเอาเงินไปซื้อ ETF ให้เลย

> เวียดนาม

– เวียดนาม ตลาดหุ้นขึ้นมาเยอะมาก ทำ all-time high อยู่ตลอด แต่ตัวเลขเศรษฐกิจอื่นๆ ก็ดีขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน ปัจจุบันมูลค่าเศรษฐกิจโต กว่าสิงคโปร์และมาเลเซีย เป็นที่สี่ใน Southeast Asia รองจากอินโดฯ ไทย และฟิลิปปินส์ 

– GDP เวียดนามโตสูงที่สุดในโลก ประมาณ 6% ต่อปี และแม้เจอโควิด-19 ก็ยังโตได้ 2.9% 

– เงินกำลังหลั่งไหลมาที่เวียดนาม มีการขยายฐานการผลิตมาที่นี่ แต่สำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม Forward P/E อยู่ที่ 15-16 เท่าเท่านั้น ยังต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่อยู่แถวๆ 19 เท่า 

– จึงมองได้ว่าหุ้นเวียดนามไม่ได้แพงอย่างที่คิด เพราะปัจจัยทางเศรษฐกิจวิ่งไล่ตามมาตลอด หากมองในระยะยาว ลงทุนไปยาวๆ ก็ถือว่าน่าสนใจ เพราะนี่คือตลาดแห่งอนาคตที่จะยังเติบโตได้อีกมาก จากศักยภาพที่มี

– คนเวียดนามเริ่มหันมาลงทุนในตลาดหุ้นมากขึ้น โดยเฉพาะปีที่แล้วที่คนอยู่บ้านเฉยๆ ทำให้มีนักลงทุนรายย่อยเปิดบัญชีเพิ่มขึ้นเยอะมาก ไตรมาสละเป็นหมื่นๆ บัญชี, Q1 ปีนี้ เปิดใหม่เป็นแสนบัญชี, อีกสาเหตุหนึ่งเพราะดอกเบี้ยลดลง จาก 6-7% เป็น 2-3% ทำให้มีเงินไหลเข้ามาดันดัชนี ส่งผลให้หุ้น mid-small cap ขึ้นเยอะมาก

– อย่างไรก็ตาม การลงทุนในเวียดนามก็ยังมีความเสี่ยง เช่น ด้วยความที่เป็นประเทศคอมมิวนิสต์ อาจจะมีการออกคำสั่งต่างๆ ขึ้นมาดื้อๆ เหมือนที่จีนเคยออกกฏห้ามนักลงทุนต่างชาติเอาเงินกลับ 

– นอกจากนี้ การเป็น frontier market ทำให้การกำกับดูแลต่างๆ ยังไม่ได้ดีพร้อม ผู้ลงทุนจึงไม่จำเป็นต้องทุ่มทั้งหมด โดยอาจแบ่งเงินส่วนหนึ่ง เช่น 10-20% ของพอร์ต ไปลงทุนในเวียดนาม

> ลงทุนเวียดนามกับ Jitta

– การลงทุนในตลาดเวียดนามทำได้สองแบบ หนึ่งคือ ลงทุนด้วยตัวเอง  สองคือ ให้คนอื่นจัดการให้ ซึ่งก็คือลงทุนผ่าน บลจ.

– การลงทุนด้วยตัวเองต้องทำงานหนัก และอาจจะติดปัญหาบางประการ เช่น หุ้น mid-small cap บางตัวไม่สามารถคาดเดาได้ ดังที่เคยเกิดกรณี อยู่ๆ ผู้บริหารถูกอุ้มหายไป หุ้นจึงร่วงหนัก 

– อีกทางหนึ่งคือ ให้ บลจ.เอาเงินไปลงทุนให้ บลจ. อื่นๆ จะเลือกลงทุนใน ETF ส่วนของ บลจ. Jitta Wealth จุดเด่นคือจะใช้อัลกอริธึ่มของตัวเองในการวิเคราะห์-เลือกหุ้น นักลงทุนควรศึกษาวิธีลงทุนที่ตัวเองชอบ ดูค่าธรรมเนียม แล้วจึงตัดสินใจเลือกว่าจะลงทุนกับ บลจ.ไหน

– ทั้งนี้ Jitta Wealth เวียดนาม ที่ลงทุนโดยใช้ Jitta Ranking จะกระจายการลงทุนไปในหุ้นดีราคาถูก 20 ตัวของเวียดนาม และปรับพอร์ตทุก 3 เดือน

– ผลปรากฏว่า 12 เดือนล่าสุด (พ.ค. 2020-พ.ค. 2021) Jiita Wealth ทำผลตอบแทนได้ 93.47% ชนะดัชนีที่ทำผลตอบแทนได้ราว 56.33% ขณะที่ YTD (นับตั้งแต่ 1 ม.ค. 2021) Jitta Wealth ทำผลตอบแทนได้ราว 32.85% เหนือดัชนีที่ทำได้ราว 20% 

– ช่วงหลังวิกฤต Jitta Wealth เอาชนะดัชนีของแต่ละประเทศเยอะมาก เพราะเงินหลั่งไหลเข้ามายังหุ้นดีราคาถูกต่างๆ ซึ่งเป็นหุ้นที่ Jitta Wealth เลือกไว้ ทั้งๆ ที่ดัชนีของแต่ละประเทศยังไม่ได้ขึ้นไวขนาดนั้น

– อาจกล่าวได้ว่า ในปีที่ดี Jitta Wealth จะชนะดัชนีได้เยอะ แต่ก็ต้องบอกว่า ในบางปีอาจจะแพ้ดัชนีได้ ที่ผ่านมา 10 ปี ก็ไม่ได้ชนะตลาดทุกปี แต่รวมๆ แล้วชนะมากกว่าแพ้ 

– อย่าง 10 ปีหลังสุดของเวียดนาม (2011-2020) Jitta Wealth ชนะดัชนี 8 ปี แพ้ 2 ปี โดยค่าเฉลี่ยผลตอบแทนต่อปีของ JW อยู่ที่ 21.45% ขณะที่ VN INDEX TR อยู่ที่ 12.10% (ข้อมูลส่วนหนึ่งเป็น backtest อีกส่วนหนึ่งเป็น real performace จากการใช้ Jitta Ranking ลงทุนจริง) 

– การลงทุนในเวียดนามกับ Jitta Wealth นอกจาก Jitta Ranking ยังมีอีกหนึ่งทางเลือก คือ Thematic โดยผู้ลงทุนสามารถเลือกธีม “เวียดนาม” ซึ่งทาง JW จะเอาเงินไปซื้อ ETF ที่ชื่อ VNM ให้ (VNM เป็น ETF ที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม และหุ้นต่างชาติที่มีรายได้จากเวียดนามเกิน 50%)

– ผู้ที่อยากได้ผลตอบแทนสูงหน่อย ควรจะเลือกวิธี Jitta Ranking เพราะเชื่อว่าน่าจะชนะดัชนีได้ในระยะยาว แต่ถ้าใช้ Thematic โดยเลือกธีมเวียดนาม ผลตอบแทนก็น่าจะใกล้เคียงดัชนี

– ค่าธรรมเนียมของ Jitta Wealth วิธี Jitta Ranking ถือว่าต่ำมาก โดยค่าบริหารจัดการรายปีอยู่ที่ 0.5% เท่านั้น ต่ำที่สุดในบรรดากองทุนรวมไทยที่ไปลงเวียดนามทั้งหมด (กองอื่นๆ บางกองคิด 2-3% ) แต่จะมี performance fee  อีก 10% สมมุติว่ากำไร 1 ล้าน จะมีค่า fee 1 แสน 

– วิธีเช่นนี้จะ fair กว่า เพราะเป็น performance-based โดยบริษัทจะเก็บค่าธรรมเนียมได้มากต่อเมื่อทำผลตอบแทนให้ลูกค้าได้มาก ปีไหนขาดทุนลูกค้าจะเสียแค่ 0.5% 

– นอกจากนี้ จะมีค่าใช้จ่ายตามจริง เช่น ค่าธรรมเนียมจากการปรับพอร์ตอีก 0.3% ซึ่งจะปรับสามเดือนครั้ง ตรงนี้เป็นค่าธรรมเนียมจริงที่ Jitta Wealth ต้องจ่ายให้โบรกเกอร์ และจะมี custodian fee อีก 0.1% ของ NAV ขณะที่ถ้าใช้ Thematic ที่ไปลง VNM จะมีค่าธรรมเนียมเพียง 0.5% ไม่มี performance fee เพราะไม่ได้ใช้อัลกอริธึ่มของ Jitta 

– เป้าหมายของ Jitta Wealth คือ ทำผลตอบแทนให้ดีที่สุด ภายใต้ระดับความเสี่ยงที่รับได้ หลักการข้อแรกคือทำอย่างไรไม่ให้เกิดการสูญเสียเงินลงทุนอย่างถาวร เลือกกิจการที่ดี มีกระแสเงินสดที่ดี ไม่จำเป็นต้องปรู๊ดปร๊าด ไม่ต้องได้ปีละ 100-200% แต่อาจจะทำได้เฉลี่ยปีละ 10-15%  ซึ่งก็เพียงพอแล้ว

– อย่างไรก็ตาม อดีตไม่ได้การันตีอนาคต ไม่ว่าจะลงทุนกับ Jitta Wealth หรือใคร แนะนำให้ศึกษาหลักการให้เข้าใจก่อน เพื่อที่จะได้อยู่กับมันได้นานๆ ไม่เช่นนั้นพอขึ้นมาเยอะหน่อยก็จะอยากขายทำกำไร พอตกไปเยอะหน่อยก็จะขายตัดขาดทุน 

> หลักการ เครื่องมือ และอื่นๆ

– Jitta Wealth เน้นความโปร่งใส เปิดเผยข้อมูลตลอด ว่าซื้อขายอะไร ใช้หลักการอะไร เพื่อให้นักลงทุนเข้าใจ เมื่อนักลงทุนเข้าใจแล้วจะได้พร้อมที่จะปล่อยให้เงินทำงานของมันไปเอง และไปใช้ชีวิตอย่างที่ต้องการ

– Jitta Line เป็น indicator ที่จะบอก “มูลค่าที่เหมาะสม” โดยคำนวณจากกระแสเงินสดที่บริษัทสร้างได้ บวกกับทรัพย์สินของบริษัท ภายใต้เงื่อนไขสมมุติ ว่าถ้าซื้อบริษัทนี้ทั้งบริษัท จะต้องคืนทุนภายในสิบปี 

– เมื่อเอา Jitta Line เทียบกับราคาหุ้น จะทำให้เห็นว่าช่วงไหนหุ้น undervalued ช่วงไหน overvalued  และจะช่วยประกอบการตัดสินใจว่าหุ้นตัวนั้นในเวลานั้นน่าเข้าลงทุนหรือไม่

– ถ้าดูหุ้น tech giant ต่างๆ จะเห็นว่า มีไม่บ่อยที่ราคาหุ้นจะลงมาต่ำกว่า Jitta Line อย่างหุ้น Amazon (NASDAQ: AMZN) ช่วงที่ลงทุนได้คือช่วงปี 2019 และต้นปี 2020 

– หรืออย่างหุ้น Facebook (NASDAQ: FB) ราคาต่ำกว่า Jitta Line มาตั้งแต่ปลายปี 2017 จนถึงต้นปี 2021 เพราะโดนมรสุมสารพัดเรื่อง เพิ่งจะมา overvalued เมื่อไม่นานมานี้ โดยล่าสุด (ณ 16 มิ.ย.) ราคาสูงกว่า Jitta Line อยู่ประมาณ 5%

– แต่อย่าง Microsoft (NASDAQ: MSFT) จะพบว่า overvalued อย่างต่อเนื่องมาตลอด แต่ทั้ง Jitta Line และราคาก็ปรับตัวขึ้นมาตลอดเช่นกัน โดยล่าสุด (ณ 16 มิ.ย.) ราคาสูงกว่า Jitta Line อยู่ประมาณ 58%

– Tool ทั้งหมดของ Jitta อยู่ภายใต้ปรัชญาที่ต้องการ “ปกป้องการลงทุน” เครื่องมือการลงทุนทุกอย่าง กลั่นมาจากเกณฑ์ที่ conservative ที่สุด 

– Jitta Wealth เป็นโมเดลที่สร้างรายได้จากการทำให้พอร์ตของนักลงทุนโตขึ้นจริง ส่วน Jitta.com จากเดิมที่เคยคิดค่าใช้จ่าย ปัจจุบันให้ใช้ฟรีทั้งหมด ซึ่งทำให้ผู้ใช้มาช่วยกันตรวจสอบข้อมูล ส่งผลให้ Jitta สามารถพัฒนาเครื่องมือของตนเองให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

 ** ข้อมูลทั้งหมด สรุปมาจากถ้อยคำของคุณตราวุทธิ์ โดยผมไม่ได้ใส่ความเห็นของตนเองลงไปแต่อย่างใดครับ – ชัชวนันท์