สรุปมุมมองของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ต่อการลงทุนในวิกฤตโควิด-19 (ฉบับเต็ม)

virus-4915859_960_720

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

(สรุปจากรายการ Money Chat สัมภาษณ์โดยคุณเนาวรัตน์ เจริญประพิณ)

  1. วิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อไทยรุนแรง ด้วยสามปัจจัย หนึ่ง) เศรษฐกิจโลกแย่ไทยเป็นเศรษฐกิจเปิดจึงได้รับผลกระทบไปด้วยเช่นการส่งออกที่แย่ลง สอง) ไทยพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลักพอเจอโควิดเศรษฐกิจเลยกระทบหนักและ สาม) การแพร่เชื้อในไทยยังเป็นขาขึ้นอยู่พอใช้มาตรการเข้มข้นก็จะกระทบเศรษฐกิจอย่างรุนแรง
  2. ไตรมาสหนึ่งเราติดลบเพราะข้างนอก (เช่นเมืองจีนผู้เขียน) แต่ไตรมาสสองเราติดลบจากข้างใน  ห้างปิดงดประชุมฯลฯกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดหมดเช่นสมมุติทั้งปีควรจะทำ GDP ได้ 100 บาทแทนที่เดือนนี้จะทำ GDP ได้ 8-9 บาทก็เหลือ 4-5 บาท
  3. ต้องบริหารจัดการเรื่องการสะกัดเชื้อไวรัสให้ได้ก่อนถ้าลุกลามไปทั่วจะแย่
  4. ตอนนี้เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดของโลกสามกลุ่มคืออเมริกายุโรปและจีนซึ่งรวมเป็นกว่า 60% ของเศรษฐกิจโลกกำลังเป็นไข้หนักเศรษฐกิจโลกจึงแย่แน่นอนและไทยต้องกระทบหนักแน่
  5. มาตรการทางการเงินทั้งการลดดอกเบี้ยอัดฉีดเงินแก้วิกฤตไม่ได้หรอกถ้าได้ก็ดีแต่ว่าสงสัยจะไม่ได้
  6. ราคาหุ้นจะดูว่าถูกหรือแพงจาก P/E ตอนนี้หุ้นดูเหมือนราคาจะถูกเพราะ P มันลงแต่โควิด-19 ทำให้ E ลงมาด้วยฉะนั้นหุ้นมันไม่ได้ถูกหรอกเพราะว่า P ก็ลง E ก็ลง
  7. ในอีกส่วนหนึ่งเราคุ้นเคยกับการที่แบงก์ชาติทั่วโลกกดดอกเบี้ยให้ต่ำมากจึงโหมกันสร้างหนี้แต่พอเจอโควิด-19 คนจึงเริ่มตั้งคำถามว่าบริษัทที่กู้มามากๆจะไปจ่ายดอกเบี้ย bond ยังไงใครจะไปกล้าซื้อในเมื่อรายได้ของบริษัทหายไปฮวบฮาบฉะนั้นจะเกิดสภาวะตึงเครียดในตลาด bond และตอนนี้ก็เกิดแล้วด้วยสังเกตได้จาก spread ที่เริ่มขาด
  8. ดังนั้นคนในตลาดเงินตลาดทุนจะหวังให้มีธนาคารกลางมาอุ้มมาแบ็คแล้วเราจะแยกตัวออกไปจากผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจจริงผมคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้
  9. เราถูกสปอยล์จากแบงก์ชาติทั่วโลกอย่างแบงก์ชาติอเมริกาผู้ว่าบอกว่าจะทำ “whatever it takes” คือทุ่มสุดตัวลักษณะนี้ทำให้เราเสียนิสัยตลอด 10 ปีที่ผ่านมาเพราะมันทำให้เราเชื่อว่าไม่ต้องกลัวหรอกแบงก์ชาติเค้าจะทำให้หุ้นไม่ตกเค้าจะทำ QE”
  10. ความนิสัยเสียนี้กำลังถูกทดสอบและธนาคารกลางทั่วโลกถือว่าสอบตกไปแล้วเพราะทำทุกอย่างแล้วทั้งลดดอกเบี้ยอัด QE แต่หุ้นก็ยังลง
  11. ที่นักวิเคราะห์หลายคนเคยบอกลูกค้าเสมอว่าเดี๋ยวเฟดมาช่วยเฟดก็ช่วยไม่ได้แล้วเราเข้าใจผิดแล้วเพราะเฟดใช้กระสุนจนเกือบจะหมดแล้ว 
  12. สำหรับของไทยมาตรการของแบงก์ชาติคือจะไปซื้อพันธบัตรรัฐบาลตาม open market (ซึ่งไม่ถือว่าเป็น QE) แม้ดูเผินๆเหมือนพร้อมจะทุ่มเงินเยอะแต่ที่จริงถ้าเจาะดูข้างในถือว่าไม่เยอะปัญหาหลักของไทยตอนนี้ไม่ใช่สภาพคล่องสิ่งที่แบงก์ชาติทำคือการดูแลไม่ให้สภาพคล่องติดขัดเพื่อไม่ให้ย้อนกลับมาซ้ำเติมสถานการณ์เท่านั้น 
  13. นโยบายการเงินของประเทศต่างๆเอาไม่อยู่หรอกกับวิกฤตครั้งนี้พราะหัวใจของการแก้ปัญหาอยู่ที่มาตรการทางสาธารณสุขถ้าไม่แก้ที่ต้นเหตุมาทำแต่นโยบายการเงินการคลังมันไม่มีประโยชน์
  14. ตรงนี้แค่ช่วยบรรเทาผลกระทบและช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นเร็วเมื่อโรคระบาดจบแล้วแต่ถ้าโรคไม่จบมันไม่มีความหมายตลาดหุ้นไม่สนใจหรอกถ้าโรคยังไม่จบ
  15. สิ่งที่ควรทำคือต้องใช้มาตรการสาธารณสุขควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อไม่ให้เป็นแบบอิตาลีถ้าคุมได้กิจกรรมทางเศรษฐกิจจึงจะกลับมาได้แล้วนโยบายการเงินที่ทำอยู่จะช่วยให้ฟื้นเร็วขึ้นแต่ก่อนหน้านั้นต้องมีมาตรการช่วยธุรกิจขนาดย่อมให้ผ่านตรงนี้ไปได้ก่อน
  16. มาตรการเพื่อช่วยตลาดทุนตลาดเงินของไทยถูกแล้วที่ทำไม่งั้นอาจจะวกกลับมากระทบต่อเศรษฐกิจจริงได้เช่นถ้าธุรกิจ bond เอาไปรีไฟแนนซ์ไม่ได้ก็จะไม่มีเงินครั้นจะไปกู้แบงก์ก็ไม่ได้เพราะแบงก์เจอ NPL ที่อื่นมาก่อนแล้วซึ่งจะยิ่งทำให้เศรษฐกิจจริงฟื้นได้ยาก
  17. รัฐบาลไทยต้องรู้ว่าจะชดเชยผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันการแพร่กระจายของโรคยังไง  อย่างของอเมริกาแต่เดิมจะใช้เงิน 1 ล้านล้านเหรียญต่อมากลายเป็น 2 ล้านล้านเท่ากับ 10% ของ GDP
  18. สำหรับของไทยถ้าจะช่วยในระดับเดียวกันคือ 10% ก็จะเท่ากับ 1.7 ล้านล้านบาทดังนั้นถ้าไทยจะช่วยในระดับเดียวกับอเมริกาอย่างน้อยๆต้องใช้เงินเกิน 1 ล้านล้านบาทแน่นอนของอเมริกาที่กล้าทุ่มเงินเพราะหนี้ภาครัฐของเขาสูงอยู่แล้วจึงไม่สนอะไรแล้วแต่ของไทยยิ่งไม่ต้องห่วงเลยเพราะหนี้ต่อ GDP ของเราแค่ 40% ขณะที่ของอเมริกามากกว่า 100%
  19. รัฐบาลไทยจึงต้องช่วยผู้ได้รับผลกระทบทั้งคนที่อยู่ในระบบประกันสังคมคนในภาคเกษตรและคนในภาคบริการโดยเฉพาะคนในภาคบริการที่กระทบหนักสุดจากวิกฤตนี้และไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคมด้วย
  20. ตลาดทุนยังรับรู้สิ่งเหล่านี้ไม่หมดเรายังนึกอยู่เลยว่ายุโรปกับอเมริกาเศรษฐกิจน่าจะฟื้นในไตรมาสสามคือคิดว่าไตรมาสสองจะหนักสุดทุกคนคิดกันว่าผลกระทบจะอยู่ภายในระยะสามเดือนแต่ไม่มีหมอที่ไหนบอกเลยว่าโควิดจะจบในสามเดือนมีแต่คนบอกว่าเป็นปีหรือปีกว่าหรือหลายปีซึ่งไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นอย่าหวังว่าวิกฤตจะจบในเร็ววัน
  21. วิกฤตปีนี้หนักว่าปี 40 เพราะเกิดขึ้นทั่วประเทศและทั่วโลกและกระทบหลายมิติมากไม่ใช่แค่สถาบันการเงินเหมือนปี 40 โดยเคสนี้มีทางทั้งมิติสาธารณสุขมิติทางเศรษฐกิจจริงรวมทั้งธุรกิจรายเล็กรายน้อย
  22. ดังนั้นหาความรู้เก็บความรู้แล้วทำใจเย็นๆไว้ดีกว่าเพราะ หุ้นยังลงได้อีกขอให้คิดดูดีๆ “ไม่ต้องรีบลงทุน ดูสถานการณ์ให้ดี ศึกษาข้อมูลให้ดี” 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s