เมื่อปู่ลงทุนในธุรกิจที่รู้ทั้งรู้ว่าจะไม่ได้อะไร

Boys_town

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

นับตั้งแต่หารายได้ด้วยการส่งหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ตามบ้านในสมัยเด็ก บัฟเฟตต์ก็มีความสนใจในวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตลอดมา ทั้งเขาและชาร์ลี มังเกอร์ มีความนับถืออย่างสูงต่อการทำข่าวเชิงวิเคราะห์ และสืบสวนสอบสวนของหนังสือพิมพ์

บัฟเฟตต์มีความคิดอยากเป็นเจ้าของ นสพ. มาพักใหญ่แล้ว และแล้ว โอกาสก็มาถึงแบบไม่รู้เนื้อรู้ตัว โดยซูซี่ ภรรยาของเขา รู้จักกับสแตนฟอร์ด ลิปซีย์ เจ้าของหนังสือพิมพ์ โอมาฮา ซัน อยู่มาวันหนึ่ง ลิปซีย์ไปที่ออฟฟิศของบัฟเฟตต์ที่อาคารคีวิต พลาซ่า และบอกว่าเขาอยากจะขายธุรกิจของเขา

บริษัทของลิปซีย์ทำหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ที่เน้นเรื่องของท้องถิ่นประมาณ 5-6 หัวในเมืองโอมาฮา โดยมียอดขาย 50,000 ฉบับ กับรายได้ต่อปีประมาณ 1 ล้านเหรียญ โดยโอมาฮา ซัน ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์หัวหลักของบริษัท เป็นเบอร์สองในเมือง ขณะที่เบอร์หนึ่งคือ โอมาฮา เวิลด์-เฮรัลด์

ดีลนี้ตกลงกันได้ใน 20 นาที  โดยข้อตกลงก็คือ ลิปซีย์จะรับเป็นบรรณาธิการต่อไป

ที่น่าตลกก็คือ บัฟเฟตต์ระบุในภายหลังว่า เขาจ่ายเงิน 1.25 ล้านเหรียญ แลกกับบริษัทที่คาดว่าจะทำเงินได้ปีละ 100,000 เหรียญ ซึ่งเท่ากับผลตอบแทนต่อเงินลงทุน 8% อันถือว่าน้อยมากสำหรับห้างหุ้นส่วนของเขาเวลานั้น ที่ทำผลตอบได้ปีละ 29.8%

ส่ิงที่เกิดขึ้นในเวลาต่อมาก็คือ บริษัท นสพ. นี้ย่ำแย่มาโดยตลอด และทำไม่ได้แม้กระทั่งกำไร 8% ที่บัฟเฟตต์เคยคาดไว้ แต่กลับได้ในสิ่งซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะได้

นั่นคือ “รางวัลพูลิตเซอร์” อันเป็นเกียรติยศสูงสุดแห่งวงการหนังสือพิมพ์อเมริกัน

Omaha_World-Herald_front_page

หลังจากบัฟเฟตต์เข้าไปถือหุ้นทั้งหมด โอมาฮา ซัน ได้ทำข่าวกรณี “Boys Town” ซึ่งเป็นบ้านเด็กกำพร้าชายล้วน ที่โด่งดังขึ้นมาจากการถูกเอาเรื่องราวไปทำเป็นหนังจนได้รางวัลออสการ์

ทั้งนี้ “เดอะ ซัน” ได้แฉเรื่องไม่ชอบมาพากลทางการเดิน โดย Boys Town ได้ระดมเงินทุนจากคนทั่วประเทศ และได้เงินหลายสิบล้านเหรียญ แล้วเอาเงินไปทำอีลุ่ยฉุยแฉก อีกทั้งยังมีการดูแลเด็กๆ แบบประหลาด คือจับเอาไปไว้ในแคมปัสที่ห่างไกล ไม่ให้เจอเด็กผู้หญิง ห้ามติดต่อกับโลกภายนอก เว้นเสียแต่ให้คนไปเยี่ยมได้สัปดาห์ละหนึ่งครั้ง และจดหมายทุกฉบับต้องถูกเซนเซอร์

หลังกรณีถูก โอมาฮา ซัน เผยแพร่ออกไป บ้านเด็กกำพร้าแห่งนี้ก็ถูกสั่งห้ามระดมทุน และมีการเข้าไปปฏิรูปใหม่ทั้งหมด กรรมการทั้งคณะถูกให้ออก พร้อมกับเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกคน และเปลี่ยนโมเดลการดูแลเด็ก ให้เด็กได้มาอยู่กับครอบครัวอุปถัมภ์ที่ต้องการอุปการะเด็ก ไม่ใช่เอาไปขังในแคมปัสเหมือนแต่เดิม นั่นทำให้บ้านเด็กกำพร้าแห่งนี้เติบโตและคงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน

การเสนอข่าวเรื่องนี้ ทำให้โอมาฮา ซัน ชนะรางวัลพูลิตเซอร์ ในปีเดียวกับที่ วอชิงตัน โพสต์ ได้พูลิตเซอร์จากกรณีวอเตอร์เกต ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า นสพ.อันดับที่สองของเมืองเล็กๆ จะได้รับเกียรติยศยิ่งใหญ่ขนาดนี้

ที่น่าสนใจก็คือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ เป็นผู้ที่สนับสนุนการทำข่าวนี้อย่างเต็มตัว เขาเป็นคนช่วยค้นหาตัวเลขอันไม่ชอบมาพากลของ Boys Town และบางครั้งยังปลอมตัวไปลงพื้นที่กับบรรดานักข่าวอาชีพอีกด้วย 

อย่างไรก็ตาม แม้บอยส์ทาวน์จะดีขึ้น แต่โอมาฮาซัน ซึ่งเเป็นธุรกิจของบัฟเฟตต์กลับแย่ลง ก่อนที่บัฟเฟตต์จะขายทิ้งไปในปี  1980 แต่ก็ยังไม่ดีขึ้น จึงปิดกิจการไปในปี 1983 ขณะที่คู่แข่ง คือ โอมาฮา เวิลด์ เฮรัลด์ เจริญก้าวหน้ามาจนถึงทุกวันนี้

บทเรียนที่ได้รับจากเรื่องนี้ก็คือ ชีวิตคนเราไม่ได้มีแค่เรื่องเงิน จะทำอะไรอย่าคิดแต่ผลประโยชน์ระยะสั้น บัฟเฟตต์ยอมเอาเงินกองทุนของเขามาเพื่อหนุนหลังหนังสือพิมพ์จอมอุดมการณ์อย่าง เดอะ ซัน ทั้งๆ ที่รู้ว่าอาจจะได้ผลตอบแทนแค่ในระดับกลางๆ หรืออาจจะไม่ได้อะไรเลย

แต่บางสิ่งบางอย่างก็เป็นสิ่งที่ควรทำเพื่อสังคมที่ดีกว่า

บัฟเฟตต์เคยบอกว่าเขาเป็นคนโชคดี เขาทำเงินได้มากมายเพราะเขาโชคดีพอที่ได้เกิดมาในสังคมที่มีสถาบันที่ดี มีนิติรัฐ  เป็นสังคมที่พลเมืองเป็นใหญ่ มีการตรวจสอบและถ่วงดุลย์อำนาจ และมีสื่อที่มีเสรีภาพ เขาจึงยอมใช้เงินทุนที่มีเพื่อสนับสนุนเสรีภาพของสื่อ

นี่คือบุคคลระดับโลก ที่เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวม และพิสูจน์แล้วด้วยการกระทำมาตลอดชีวิตของตนเอง


ใครสนใจเรียนแกะงบออนไลน์ พร้อมเรียนสด ประเมินมูลค่าหุ้นและทำ DCF วันที่ 6 ต.ค. คลิกที่ลิงค์นี้เลย https://clubvi.com/valuationanddcf9/


image credit :  wikipedia , both qualified as fair use.

 

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s