Index Living Mall

ILM-Club VI-02

(Advertorial)

ภาพรวมธุรกิจ

หากพูดถึง “เฟอร์นิเจอร์” หรือ “ของตกแต่งบ้าน” ในประเทศไทย หนึ่งในชื่อแรกๆ ที่คนส่วนใหญ่นึกถึงคงหนีไม่พ้น “อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ หรือ Index Living Mal”

โดยบริษัท อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จำกัด (มหาชน) (“อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์”) กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ใช้ตัวย่อ “ILM” ประกอบธุรกิจค้าปลีกของตกแต่งบ้านครบวงจร ปัจจุบันเป็นศูนย์รวมเฟอร์นิเจอร์ ของใช้ภายในบ้าน อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน และเครื่องใช้ไฟฟ้า ภายใต้แบรนด์ของตนเองและแบรนด์อื่นๆ ผ่านช่องทางจำหน่ายที่หลากหลาย ทั้งหน้าร้านค้าปลีกของตนเอง งานโครงการ ตัวแทนจำหน่าย (Dealer) ช่องทางออนไลน์ และเครือข่ายร้านค้าปลีกในต่างประเทศ
นอกจากนี้ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ยังได้ขยายธุรกิจไปยังการให้เช่าและให้บริการพื้นที่ให้เช่าภายใต้แบรนด์ The Walk, Little Walk และ Index Mall ในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และหัวเมืองใหญ่ต่างจังหวัดรวม 9 สาขา ทั้งนี้ ร้านค้าปลีกของบริษัทฯ ล้วนมีเอกลักษณ์แตกต่างกันไป ได้แก่ Index Living Mall, Trend Design, MOMENTOUS และ BoConcept นอกจากนี้เพื่อเพิ่มโอกาสการเติบโตจากพื้นที่ที่ยังเข้าไม่ถึง อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ จึงขยายไปสู่ร้านตัวแทนจำหน่ายภายใต้แบรนด์ WINNER Furniture Center ปัจจุบันมีทั้งหมด 25 ร้าน ในหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองรอง
ในปี 2560 อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ได้เปิดตัวแบรนด์ใหม่ “Younique Customized Furniture 4.0” ซึ่งเป็นบริการเฟอร์นิเจอร์สั่งตัดรูปแบบใหม่ที่ลูกค้าสามารถปรับแต่งขนาดและดีไซน์ได้เองตามความต้องการ และชอบความรวดเร็ว
ภายใต้งบประมาณที่วางไว้ โดยใช้เวลาตั้งแต่การวัดพื้นที่ ถึงการติดตั้งแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี
อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ยังมีธุรกิจในต่างประเทศ โดยมีร้านค้าในรูปแบบตัวแทนจำหน่ายและแฟรนไชส์ รวม 17 ร้านใน 7 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย เนปาล มัลดีฟส์ ลาว กัมพูชา ปากีสถาน และเมียนมาร์ รวมทั้งมีการรับผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ หรือ OEM ภายใต้แบรนด์ของลูกค้าอีกด้วย
ไม่เพียงเท่านั้น อีกหนึ่งช่องทางจำหน่ายหลัก คือการขายให้โครงการในรูปแบบ B2B (Business to Business) ซึ่งมียอดการสั่งซื้อต่อครั้งที่สูง จึงช่วยเพิ่มความแน่นอนให้กับรายได้และกระแสเงินสด ปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้างานโครงการที่หลากหลาย ทั้งผู้ประกอบการพัฒนาที่อยู่อาศัย ลูกค้าเอกชนและหน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
สำหรับช่องทางสุดท้าย ซึ่งกำลังเพิ่มศักยภาพขึ้นเรื่อยๆ คือ ช่องทางออนไลน์ เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ได้จัดทำเว็บไซต์จำหน่ายสินค้าออนไลน์ผ่าน http://www.indexlivingmall.com โดยรวบรวมสินค้าทั้งหมดไว้ในที่เดียว ทั้งยังจำหน่ายผ่านเว็บไซต์ Lazada Shopee และ Index Chat to Shop (Line@) ด้วย

จุดแข็งของธุรกิจ

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่เก่งที่สุดในโลกสอนว่า จงลงทุนใน “บริษัทผู้ชนะ”
“อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์” คือผู้นำในธุรกิจร้านค้าปลีกของตกแต่งบ้านครบวงจรในประเทศไทยมาอย่างยาวนาน ทั้งยังมี “แบรนด์” ที่ถือเป็นอันดับต้นๆ ในใจของลูกค้าชาวไทย ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญแห่งความเป็น “บริษัทผู้ชนะ”
นอกจากนี้ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ยังมีช่องทางการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและเข้มแข็ง ซึ่งถือเป็นการกระจายความเสี่ยงไปในตัว ยังไม่นับการขยายธุรกิจไปในต่างประเทศ ที่ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ไม่เพียงเท่านั้น อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ยังดำเนินธุรกิจเองตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยเป็นเจ้าของตั้งแต่โรงงานผลิตจนถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ทำให้สามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยภาพรวมอาจกล่าวได้ว่า อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เข้าตำรา “บริษัทผู้ชนะ” ตามตำราของวอร์เรน บัฟเฟตต์

นอกเหนือจาก “ปัจจัยเชิงคุณภาพ” แล้ว อีกสิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญไม่แพ้กัน คือ “ตัวเลขทางการเงิน”
ในปี 2561 อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ มีรายได้จากการขายและรายได้จากการให้เช่าและบริการรวม 9,658 ล้านบาท กำไรที่อยู่ในรูปเงินสดหรือ EBITDA 1,427 ล้านบาท คิดเป็น EBITDA margin 14.8% กำไรสุทธิ 430.9 ล้านบาท หรือมีกำไรสุทธิก่อนหักขาดทุนครั้งเดียว 592 ล้านบาท เติบโตทบต้น 10% ในรอบสามปีหลัง (2559-61) อัตรากำไรสุทธิ 6.1% (ตัวเลขทั้งหมดยังไม่รวมผลขาดทุนจากขาดทุนจากแผนการปิดกิจการของ Index Living Mall มาเลเซีย ที่รับรู้เข้ามาในงบการเงินรวมปี 2561)
ต้องถือว่าตัวเลขทางการเงินของอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ มีความมั่นคง และ “เสี่ยงน้อย” โดยเฉพาะธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งถือเป็นแหล่งรายได้หลักของอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์

ทิศทางการขยายธุรกิจและโอกาสในการเติบโต

ผู้เขียนมองว่า อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เติบโตมาถึงจุดหนึ่งแล้ว นอกจากการขยายสาขาในประเทศ ก็ถึงเวลาที่น่าจะหันไปขยายธุรกิจในต่างประเทศอย่างจริงจัง นอกจากนี้ อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ควรเพิ่มสัดส่วนการขายตรงให้งานโครงการในลักษณะ B2B มากขึ้น โดยเฉพาะโครงการในต่างประเทศ ซึ่งน่าจะช่วยกระจายความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยได้ในระดับหนึ่ง

รายละเอียดในการระดมทุน

ปัจจุบันอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ มีทุนจดทะเบียนจำนวน 2,525 ล้านบาท และมีหุ้นสามัญ 505 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5.00 บาท ในจำนวนนั้นเป็นทุนชำระแล้วจำนวน 2,000 ล้านบาท คิดเป็นหุ้นสามัญ 400 ล้านหุ้น
ทั้งนี้ หุ้นที่จะนำออกเสนอขายแก่ประชาชนทั่วไป (IPO) มีจำนวนไม่เกิน 105 ล้านหุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 20.79 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วหลัง IPO ในครั้งนี้

วิเคราะห์ธุรกิจและความคิดเห็นโดย Club VI

จุดเด่นของอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ คือ ผู้นำร้านค้าปลีกของตกแต่งบ้านในประเทศไทย และการมีแบรนด์ที่แข็งแกร่งด้วยนวัตกรรมและการออกแบบที่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกระดับ อีกทั้งการดำเนินธุรกิจที่ครบวงจรตั้งแต่การผลิตไปจนถึงการจัดจำหน่าย ทำให้สามารถบริหารต้นทุนและหาช่องทางในการเติบโตได้ดีกว่าอีกหลายๆ บริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
จุดที่ต้องระวังคือ การขยายธุรกิจไปในต่างประเทศซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่มีความคุ้นชินน้อยกว่า อาจทำให้มีความเสี่ยงมากกว่าตามไปด้วย ถือเป็นความท้าทายครั้งสำคัญที่อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ ต้องก้าวข้ามไปให้ได้ อย่างไรก็ตาม อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เลือกการขยายเครือข่ายร้านค้าปลีกเฟอร์นิเจอร์ในต่างประเทศผ่านรูปแบบแฟรนไชส์ที่ผู้ประกอบการในท้องถิ่นจะเป็นผู้ลงทุนและพัฒนาพื้นที่หน้าร้านเอง โดยมีอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ คอยให้คำแนะนำ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงด้านการลงทุนของอินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์
โดยสรุป อินเด็กซ์ ลิฟวิ่งมอลล์ เป็นบริษัทที่มีความแข็งแกร่งและยังมีโอกาสเติบโตได้อีกในอนาคต แต่จะน่าลงทุนหรือไม่เพียงใดนั้น ควรพิจารณาเรื่องของหนี้สิน และตัวเลขทางการเงินอื่นๆ ในหนังสือชี้ชวนประกอบด้วย

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s