“นิ้วโป้ง” กับการทำ DCF ในช่วงวิกฤต

103399669_3304894509562553_2654579906401538922_n

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

สรุปจากการพูดคุยกับคุณ “นิ้วโป้ง” อธิป กีรติพิชญ์ เมื่อ 10 มิ.ย. 2020

ตลาดหุ้นตอนนี้มองยาก เป็นตลาดกระทิงที่ขึ้นจากจุดต่ำสุด 960 มาเป็น 1,400 เป็นการบวกกว่า 40% ภายในสองเดือนซึ่งหายากมาก

ปรากฏการณ์นี้คือ “มหัศจรรย์ซ้อนมหัศจรรย์” เพราะหุ้นลงสามสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ ภายในสองเดือน แล้วก็กลับขึ้นมาทันทีเช่นกัน

ตั้งแต่ลงทุนมาแทบไม่เคยเห็นภาวะอย่างนี้ ตอน financial crisis คราวที่แล้วยังค่อยๆ ลง โดยเริ่มจาก subprime ปี 2007 ที่หุ้นค่อยๆ ซึมลง ก่อนที่ฟองสบู่จะแตกในปี 2008

ตอนน้ีหลายคนสงสัยว่า ตลาดที่ขึ้นอยู่ตอนนี้ จะเหมือนการที่หุ้นดีดขึ้นตอนปี 2009 แล้วไม่กลับลงมาเลย 12 ปีหรือเปล่า จะไปยาวเลยหรือเปล่า ใครเข้าไม่ทันจะตกรถถาวรเลยหรือเปล่า

คุณนิ้วโป้งบอกว่า สมัยก่อนยังไม่มี QE เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ ต้องใช้การรัดเข็มขัด บริษัทไหนจะเจ๊งก็ปล่อยให้เจ๊ง แต่พอ 2008 สหรัฐฯ ไม่ได้ใช้การรัดเข็มขัด แต่ใช้การพิมพ์เงินเข้ามา

อย่างไรก็ตาม สมัย 2008 มันมีเวลาให้ได้คิด แต่ครั้งนี้อยู่ๆ หุ้นก็กลับขึ้น ทั้งๆ ที่โรคยังระบาดหนัก มีการประท้วง-จลาจลทั่วประเทศ

ของไทยเองก็แปลกมาก เพราะปีที่แล้วแทบไม่ขึ้น บวกแค่ 1% ขณะที่ประเทศอื่นขึ้นกันโครมๆ หลายคนจึงวิเคราะห์ว่าปีนี้น่าจะได้เวลาขึ้น แต่แล้วก็มาร่วงหนักซ้ำอีกจากโควิด

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าโควิด ดัชนีอยู่ที่ 1,580 จุด สมมุติว่าเอาโควิดออกไป เมื่อเทียบกับตอนนี้ 1,400 ก็มองได้ว่าหุ้นยังมีมุมบวก ยังไม่แพงมากนัก

ตอนนี้เป็นโลก VUCA Volatility (ผันผวน) Uncertainty (ไม่แน่นอน) Complexity (ซับซ้อน) Ambiguity (คลุมเครือ)

หลายคนมองว่าเศรษฐกิจไม่มีทางฟื้นแบบ V-Shape แม้ IMF ยังบอกว่าไม่มีทาง full capacity ไปอีก 6-12 เดือน คนเป็นวีไอจึงมองได้ว่างบจะแย่ไปอีก 2-4 ไตรมาส ดังนั้น จึงอาจเลือกที่จะเก็บเงินสดไว้ก่อน หรือขายหุ้นทิ้งบางส่วน

สิ่งที่นักลงทุนควรทำ คือต้องมีทั้งเงินสดและมีทั้งหุ้น ถ้ามีเงินสดเยอะเกินก็อาจพลาดโอกาสครั้งใหญ่ แต่จะไม่มีเงินสดเลยก็เสี่ยงไป

ต้องแยกเศรษฐกิจกับตลาดหุ้น ตลาดเป็น V-Shape แต่เศรษฐกิจมันไม่มี sign ว่าจะเป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะของไทย

ตอนนี้สถานการณ์เหมือนเราเป็นสุมาอี้ยืนอยู่หน้าเมืองเสเสีย เห็นขงเบ้งดีดพิณอยู่บนกำแพง จึงลังเลว่าจะบุกเข้าไปดีมั้ย ถ้าบุกเข้าไปแล้วเจอซุ่มโจมตีก็อาจเละได้ แต่ถ้าไม่เข้า แล้วปรากฏว่าที่จริงไม่มีทหาร ก็อาจเสียโอกาสทองได้

คุณนิ้วโป้งเอง ก่อนหน้านี้เคย “ถัวสะเทือนใจ” ตอนที่หุ้นลงช่วงเดือน มี.ค. ก็เข้ารับจนเงินแทบไม่เหลือ ถึงกับนอนไม่หลับ คิดมาก ซื้อเสร็จแล้วก็ลงต่อทุกตัว ทว่าแม้จะเจ็บปวด ก็รู้ว่าตัวเองกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง

ตอนนี้ก็ยังถือเงินก้อนสุดท้ายไว้ เผื่อว่าหุ้นเป็น L Shape หรือมีการย่ออีกระลอก 

จุดแตกต่างระหว่างคนมีประสบการณ์กับคนไม่มีประสบการณ์ คือเวลาหุ้นลง คนที่มีประสบการณ์ แม้จะปวดใจแต่ก็ยังซื้อถัว ขณะที่มือใหม่อาจจะกลัวแล้วหยุดซื้อเลย ทำให้ไม่ได้ของเวลาถูก

สิ่งสำคัญคือ “เมื่อวิกฤตผ่านไป เราต้องเติบโตขึ้น”

บางคนพลาด เพราะพอพอร์ตแดงทั้งพอร์ต ก็เลือกที่จะขายตัวที่ลบน้อย แล้วเก็บตัวที่ลบเยอะไว้ ทั้งที่จริงแล้วควรทำสลับกัน เพราะหุ้นที่ลบน้อยคือหุ้นพื้นฐานดี หุ้นที่ลบเยอะคือหุ้นแย่ ทำอย่างนี้จึงกลายเป็นการ “เด็ดดอกไม้แต่รดน้ำวัชพืช” แบบที่ปีเตอร์ ลินช์ บอก ครั้นขายแล้วเอาเงินสดมากอดไว้ กะว่าหุ้นจะลงไป 800 หรือ 600 จุด แต่แล้วก็มาไม่ถึง จึงมีแต่เสียกับเสีย

ตอนนี้ Valuation ทำยากมาก ดู P/E ก็ไม่ได้ เพราะตัว E (กำไร) ติดลบ บางบริษัทตัว R (รายได้) เป็น 0 ด้วยซ้ำไป ถ้าจะประเมินมูลค่าต้องประเมินกำไร Y1 Y2 ให้เป็นลบไปเลย แล้วค่อยประเมินกำไร Y3 Y4 เป็นบวก ก่อนจะ discount กลับมา

กอง REIT บางตัวรายได้เป็นศูนย์ ถ้าจะซื้อต้องหันไปประเมิน NAV ดูสินทรัพย์แทน

ถ้าหุ้นลงต้องซื้อถัวบ้าง หรือใช้ “ราคาเพิ่มทุน” เป็น benchmark ถ้าราคาต่ำกว่าราคาเพิ่มทุนค่อยซื้อ

ตอนนี้คุณนิ้วโป้งทำ DCA กับหุ้นโรงแรม โดยจะซื้อให้ผ่าน cycle ลบไป เพราะเชื่อว่าต่อไปต้องกลับขึ้น แต่ยังดูไม่ออกว่าจะกระทบแค่ไหน จึงใช้การ DCA เฉลี่ยซื้อไปเรื่อยๆ

** คุณนิ้วโป้งใช้การประเมินมูลค่าโดยวิธี DCF โดยจะทำ excel ไว้  ตัวอย่างเช่น ตอนนี้กำลังทำ DCF  “หุ้นโรงหนัง” โดยตีเอาว่าปีนี้ (2020) งบขาดทุน แล้วตีว่าปีหน้า (2021) กำไรจะเหลือครึ่งนึง พอปีถัดไป (2022) ค่อยให้กำไรกลับมาเท่ากับปี 2019 จากนั้นจึงค่อยลาก growth ต่อไป

หลังจากหากระแสเงินสดได้แล้ว ก็ค่อยคิดลดกลับมา ซึ่งหลังจากที่ทำ ก็ได้มูลค่าหุ้นออกมาต่ำมาก แต่แล้วราคาหุ้นก็ลงมาถึงจุดนั้นจริงๆ แม้จะใช้ประมาณการที่คิดว่า conservative มากแล้ว 

การทำ DCF เป็นการคาดการณ์กระแสเงินสด ซึ่งต้องมองในทุกแง่มุมของธุรกิจเท่าที่จะทำได้ จึงเป็นการบีบตัวเองให้มองธุรกิจให้รอบด้านที่สุด แม้จะไม่ถึงกับแม่นยำ 100% แต่ก็มีอะไรให้เรายึดเกาะ

ถ้าจะวัดมูลค่า อย่ากลัวว่าจะผิด เพราะแม้นักวิเคราะห์ก็ยังประเมินหุ้นตัวเดียวกันออกมาได้แตกต่างกันมากมาย บางทีต่างกันเป็นเท่าตัว

ตอนนี้คุณนิ้วโป้งไม่ได้ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ลงแต่หุ้นไทย แต่เชื่อว่าในอนาคตอาจจำเป็นต้องเพิ่มหุ้นต่างประเทศเข้ามาในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง


ดูคลิปตัวเต็มได้ทาง Club VI Youtube Channel ที่นี่

 

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s