วอร์เรน บัฟเฟตต์ ทำ DCF อย่างไร

Warren_Buffett_at_the_2015_SelectUSA_Investment_Summit

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนหมายเลขหนึ่งของโลกพูดเสมอว่า ในการค้นหาธุรกิจเพื่อเข้าลงทุน เขามักใช้การ “คิดลดกระแสเงินสด” ภาษาอังกฤษคือ Discounted Cash Flow หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “DCF” เป็นเครื่องมือหลัก

ปู่กล่าวไว้เมื่อปี 1991 ขณะไปสอนนักศึกษาปริญญาตรีที่นอเทรอดาม โดยบอกว่า

งานของผม คือการมองหาจักรวาลของสิ่งที่ผมเข้าใจ .. แล้วจึงหากระแสเงินสดที่เข้าและออก ว่าในระยะยาวมันจะเป็นอย่างไร .. จากนั้นจึงคิดลดกลับมา ณ อัตราที่เหมาะสม ซึ่งจะเป็นไปตามอัตราพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาล ผมจะพยายามซื้อมันในราคาที่ต่ำกว่านั้นมากๆ ทั้งหมดก็มีประมาณนี้ โดยทฤษฎีแล้ว ผมทำเช่นเดียวกันหมดกับทุกๆ ธุรกิจทั่วโลกที่ผมเข้าใจมันได้

สิ่งที่ปู่พูดมา ก็คือขั้นตอนในการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF นั่นเอง

หนึ่งในกรณีศึกษาที่ปู่ใช้ DCF เพื่อเข้าลงทุน อันเป็น success story ที่เล่าขานกันต่อเนื่องเรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้ คือการซื้อหุ้นบริษัท วอชิงตัน โพสต์ หรือ WPC เจ้าของหนังสือพิมพ์เก่าแก่ของประเทศในปี 1973 หรือเมื่อ 45 ที่แล้ว

ในเวลานั้น บัฟเฟตต์บอกว่า เขาคำนวณ “มูลค่าโดยเนื้อแท้” หรือ intrinsic value ของบริษัทออกมาได้ 400-500 ล้านเหรียญ แต่ราคาตลาดของทั้งบริษัทเวลานั้นอยู่ที่ประมาณ 80-100 ล้านเหรียญ นั่นเท่ากับว่าตลาดหุ้นเอาบริษัทมาเสนอขายในราคาราวๆ “1 ใน 4” หรือ “1 ใน 5” ของมูลค่าแท้จริง

เมื่อรู้อย่างนี้ บัฟเฟตต์จึงกระโดดเข้าไปซื้อทันที โดยใช้เงินไป 10.6 ล้านเหรียญ เก็บหุ้นของบริษัทได้เกือบ 10%

หลังจากเข้าซื้อ ราคา WPC ก็ร่วงลงไปอีก จนปู่ขาดทุนไปกว่า 20% ทั้งๆ ที่กิจการยังคงเติบโตต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม คำกล่าวที่ว่า “คุณตลาดบ้าๆ บอๆ แต่เขาไม่ใช่คนโง่” ก็ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาจนได้ เพราะหลังจากรออยู่นานถึงหนึ่งปีครึ่ง ตลาดก็เริ่มรับรู้ถึงความผิดพลาดในการตั้งราคาสถาบันสื่อเจ้าของรางวัลพูลิตเซอร์จากคดีวอเตอร์เกทรายนี้ ราคาของมันจึงค่อยๆ ไต่ระดับกลับสู่มูลค่าแท้จริง

ในปี 1985 มูลค่าหุ้น WPC ในมือเบิร์คเชียร์ เพิ่มขึ้นจาก 10.6 ล้านเหรียญ เป็น 221 ล้านเหรียญ หรือราวๆ 21 เท่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การประเมินมูลค่ากิจการของปู่ด้วยวิธีคิดลดกระแสเงินสดนั้น ถูกต้องทุกประการ

และนี่คือตัวอย่างการทำ DCF สไตล์ วอร์เรน บัฟเฟตต์ ที่คนอยากเป็น “วีไอพันธุ์แท้” ควรศึกษาไว้อย่างยิ่ง


** สนใจหลักสูตร DCF หุ้นโรงพยาบาล คลิกที่นี่

** สนใจหลักสูตร Valuation & DCF สอนประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี DCF แบบเชิงลึกโดย Club VI คลิกที่นี่

หลักสูตร Valuation & DCF ออนไลน์ (new) !!

IMG_8950

สิ้นสุดการรอคอย! กับหลักสูตร Valuation & DCF โดย Club VI ครั้งแรกในรูปแบบออนไลน์ สมัครระหว่าง 21 – 23 มิ.ย. 2563 ลดเหลือเพียง “1,949 บาท” เท่านั้น!!

หลักสูตร Valuation & DCF ที่ถือเป็นคอร์สสัมมนา “signature” ของ Club VI มีผู้เข้ารับการอบรมมาแล้วเกือบหนึ่งพันคน จัดมาแล้ว 9 รุ่น วันนี้พร้อมให้ท่านรับชมในรูปแบบออนไลน์เป็นครั้งแรกทางกลุ่มปิด Facebook .. สะดวก เข้าใจง่าย ดูซำ้กี่รอบก็ได้ ในราคาประหยัดสุดๆ

“นี่คือหลักสูตรประเมินมูลค่าหุ้นที่ครอบคลุมและเจาะลึกที่สุดเท่าที่เคยมีมาในเมืองไทย พร้อมวิธี DCF แบบจัดเต็ม!!” 

<< ทำไมเราจึงต้องประเมินมูลค่าหุ้นและทำ DCF ให้เป็น >>

หากต้องการลงทุนในแนว “วีไอ” หรือการลงทุนเน้นมูลค่า การรู้ “มูลค่าหุ้น” ย่อมเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อที่จะ “ได้กำไรตั้งแต่เข้าซื้อ” มิเช่นนั้นก็ยากที่จะตัดสินใจลงทุนได้อย่างถูกต้อง

นักลงทุนที่ดีจึงต้องเรียนรู้หลักการและวิธี “ประเมินมูลค่าหุ้น” ซึ่งมีอยู่หลายวิธี เช่น “โมเดลการคิดลดเงินปันผล” หรือ DDM แต่ที่ได้รับการยอมรับที่สุด คงหนีไม่พ้น “การคิดลดกระแสเงินสด” หรือ DCF ซึ่งเป็นวิธีที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนหมายเลขหนึ่งของโลกบอกว่าเขาใช้ในการหามูลค่าหุ้นเพื่อเข้าลงทุน โดยทั้งสองวิธีได้ถูกถ่ายทอดไว้แล้วในหลักสูตรนี้ (ดูรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดด้านล่าง)

ความยาว 5 ชั่วโมง 47 นาที ราคาเต็ม 2,499 บาท

พิเศษ สมัครระหว่าง 21 – 23 มิ.ย. 2563 ลดเหลือเพียง “1,949 บาท” เท่านั้น!! (ถูกลง 550 บาท) 

** หลักสูตรนี้ ผู้เรียนควรมีพื้นฐานเบื้องต้นในระดับหนึ่ง เช่น รู้จักผลตอบแทนทบต้น, อ่านงบการเงินพอเข้าใจ หากไม่มีพื้นฐาน แนะนำให้สมัครหลักสูตร  “พื้นฐานการลงทุนเน้นมูลค่า” (VI 101) และ “อ่านงบการเงิน” (VI 201) อีกสองคอร์ส โดยจ่ายเพิ่มเพียง “999 บาท” ** (ดูรายละเอียดเนื้อหาทั้งหมดด้านล่าง)

สนใจสมัครได้เลย และรอรับ invite เข้ากลุ่มทันที

<< วิธีสมัคร >>

1. โอนเงินเข้าบัญชี บริษัท คลับ วีไอ จำกัด สาขา คริสตัล ดีไซน์ เซ็นเตอร์ (CDC) มีสามธนาคาร ดังต่อไปนี้

ธนาคารกรุงเทพ (BBL) บัญชีสะสมทรัพย์ เลขที่: 066-705774-9
ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) บัญชีออมทรัพย์ เลขที่: 996-2-06200-5
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) บัญชีออมทรัพย์ เลขที่: 404-486287-4

2. ส่งสลิปมาที่ clubvidotcom@gmail.com โดยระบุ

1) หลักสูตรที่ต้องการสมัคร หากสมัคร “Valuation & DCF” หลักสูตรเดียว ให้ระบุว่า “สมัคร DCF” และหากสมัครหลักสูตร VI 101 + VI 201 ด้วย ให้ระบุ​ว่า “สมัคร 3 คอร์ส”

2) ชื่อ Facebook account ที่ท่านจะใช้ชมคอร์สนี้

3. รอการตอบกลับและรับเอกสารประกอบการเรียนทางอีเมล

มีข้อสงสัย กรุณาสอบถามได้ที่ clubvidotcom@gmail.com หรือ Inbox เพจ Club VI

** ผู้เรียนต้องเป็นผู้ใช้ facebook  account นั้นเพียงคนเดียว หากพบว่าเป็น facebook ที่ใช้กันหลายคน ทีมงานขออนุญาตโอนเงินคืนและยกเลิกสถานะค่ะ **

 

<< เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร Valuation & DCF >>

  • เข้าใจการประเมินมูลค่า
  • แนวคิดและคอนเซ็ปต์พื้นฐานของการประเมินมูลค่าหุ้นตามหลักวีไอ
  • แนะนำการประเมินมูลค่าหุ้นในแนวทางต่างๆ
  • รู้จักการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธีคิดลด
  • รู้จักและทำความเข้าใจ “การคิดลด” (discounting)
  • หา “อัตราคิดลด” (discount rate) สอนท่านหาอัตราคิดลดให้เป็น เพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าหุ้นทุกวิธี
  • การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี “คิดลดเงินปันผล” (DDM) สอนวิธีทำ DDM อย่างละเอียด ให้ท่านประยุกต์ใช้กับ “หุ้นปันผล” ที่หมายตาไว้ได้ทันที
  • การประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี “คิดลดกระแสเงินสด” (DCF) โดยเราจะสอนท่านทำ DCF แบบจัดเต็ม พร้อมตัวอย่างและเอกสารประกอบ ให้ท่านทำเองได้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ สามารถประยุกต์ไปใช้กับหุ้นที่ท่านสนใจได้ทันที

เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร VI 201 อ่านงบการเงิน อ่านได้ ที่นี่

เนื้อหาสำคัญของหลักสูตร VI 101 พื้นฐานการลงทุนเน้นมูลค่า อ่านได้ ที่นี่


 

 

13342986_1008396502590634_5290222225672131225_n

ผู้บรรยาย  

สอนและบรรยายเสียงโดย คุณชัชวนันท์ สันธิเดช ผู้ก่อตั้งกลุ่ม Club VI, นักลงทุน, นักพูด, นักเขียน-นักแปลด้านการลงทุน ประสบการณ์ในการลงทุน 17 ปี เป็นผู้เขียนคอลัมน์ Value Way ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ มีผลงานเขียนและแปลหนังสือลงทุนมาแล้วกว่า 35 เรื่อง เช่น หนังสือ “เรียนบัญชีกับ วอร์เรน บัฟเฟตต์” (Best Seller), หนังสือ “ลงทุนอย่างวีไอพันธุ์แท้” (Best Seller), หนังสือ “ลงทุนอย่างวีไอพันธุ์แท้ #2: วัดพลังหุ้น” (Best Seller), หนังสือแปล “ลงทุนอย่างวีไอในตลาดไซด์เวย์”, หนังสือ “ลงทุนหุ้นอย่างไร กำไรตั้งแต่ซื้อ”, หนังสือแปล “Tap Dancing to Work” , หนังสือแปล “พ่อรวยสอนลูก #2: เงินสี่ด้าน” (Best Seller), หนังสือแปล “บัฟเฟตต์-โซรอส ลงทุนถูกนิสัย ยังไงก็ชนะ” (Best Seller) ฯลฯ นอกจากนี้ ยังเป็นวิทยากรให้กับบริษัทเอกชนและองค์กรการศึกษาหลายสิบแห่ง และได้รับเชิญไปถ่ายทอดความรู้ผ่านรายการโทรทัศน์และสื่อต่างๆ จำนวนมาก

“นิ้วโป้ง” กับการทำ DCF ในช่วงวิกฤต

103399669_3304894509562553_2654579906401538922_n

โดย ชัชวนันท์ สันธิเดช

สรุปจากการพูดคุยกับคุณ “นิ้วโป้ง” อธิป กีรติพิชญ์ เมื่อ 10 มิ.ย. 2020

ตลาดหุ้นตอนนี้มองยาก เป็นตลาดกระทิงที่ขึ้นจากจุดต่ำสุด 960 มาเป็น 1,400 เป็นการบวกกว่า 40% ภายในสองเดือนซึ่งหายากมาก

ปรากฏการณ์นี้คือ “มหัศจรรย์ซ้อนมหัศจรรย์” เพราะหุ้นลงสามสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ ภายในสองเดือน แล้วก็กลับขึ้นมาทันทีเช่นกัน

ตั้งแต่ลงทุนมาแทบไม่เคยเห็นภาวะอย่างนี้ ตอน financial crisis คราวที่แล้วยังค่อยๆ ลง โดยเริ่มจาก subprime ปี 2007 ที่หุ้นค่อยๆ ซึมลง ก่อนที่ฟองสบู่จะแตกในปี 2008

ตอนน้ีหลายคนสงสัยว่า ตลาดที่ขึ้นอยู่ตอนนี้ จะเหมือนการที่หุ้นดีดขึ้นตอนปี 2009 แล้วไม่กลับลงมาเลย 12 ปีหรือเปล่า จะไปยาวเลยหรือเปล่า ใครเข้าไม่ทันจะตกรถถาวรเลยหรือเปล่า

คุณนิ้วโป้งบอกว่า สมัยก่อนยังไม่มี QE เวลาเศรษฐกิจตกต่ำ ต้องใช้การรัดเข็มขัด บริษัทไหนจะเจ๊งก็ปล่อยให้เจ๊ง แต่พอ 2008 สหรัฐฯ ไม่ได้ใช้การรัดเข็มขัด แต่ใช้การพิมพ์เงินเข้ามา

อย่างไรก็ตาม สมัย 2008 มันมีเวลาให้ได้คิด แต่ครั้งนี้อยู่ๆ หุ้นก็กลับขึ้น ทั้งๆ ที่โรคยังระบาดหนัก มีการประท้วง-จลาจลทั่วประเทศ

ของไทยเองก็แปลกมาก เพราะปีที่แล้วแทบไม่ขึ้น บวกแค่ 1% ขณะที่ประเทศอื่นขึ้นกันโครมๆ หลายคนจึงวิเคราะห์ว่าปีนี้น่าจะได้เวลาขึ้น แต่แล้วก็มาร่วงหนักซ้ำอีกจากโควิด

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้าโควิด ดัชนีอยู่ที่ 1,580 จุด สมมุติว่าเอาโควิดออกไป เมื่อเทียบกับตอนนี้ 1,400 ก็มองได้ว่าหุ้นยังมีมุมบวก ยังไม่แพงมากนัก

ตอนนี้เป็นโลก VUCA Volatility (ผันผวน) Uncertainty (ไม่แน่นอน) Complexity (ซับซ้อน) Ambiguity (คลุมเครือ)

หลายคนมองว่าเศรษฐกิจไม่มีทางฟื้นแบบ V-Shape แม้ IMF ยังบอกว่าไม่มีทาง full capacity ไปอีก 6-12 เดือน คนเป็นวีไอจึงมองได้ว่างบจะแย่ไปอีก 2-4 ไตรมาส ดังนั้น จึงอาจเลือกที่จะเก็บเงินสดไว้ก่อน หรือขายหุ้นทิ้งบางส่วน

สิ่งที่นักลงทุนควรทำ คือต้องมีทั้งเงินสดและมีทั้งหุ้น ถ้ามีเงินสดเยอะเกินก็อาจพลาดโอกาสครั้งใหญ่ แต่จะไม่มีเงินสดเลยก็เสี่ยงไป

ต้องแยกเศรษฐกิจกับตลาดหุ้น ตลาดเป็น V-Shape แต่เศรษฐกิจมันไม่มี sign ว่าจะเป็นอย่างนั้น โดยเฉพาะของไทย

ตอนนี้สถานการณ์เหมือนเราเป็นสุมาอี้ยืนอยู่หน้าเมืองเสเสีย เห็นขงเบ้งดีดพิณอยู่บนกำแพง จึงลังเลว่าจะบุกเข้าไปดีมั้ย ถ้าบุกเข้าไปแล้วเจอซุ่มโจมตีก็อาจเละได้ แต่ถ้าไม่เข้า แล้วปรากฏว่าที่จริงไม่มีทหาร ก็อาจเสียโอกาสทองได้

คุณนิ้วโป้งเอง ก่อนหน้านี้เคย “ถัวสะเทือนใจ” ตอนที่หุ้นลงช่วงเดือน มี.ค. ก็เข้ารับจนเงินแทบไม่เหลือ ถึงกับนอนไม่หลับ คิดมาก ซื้อเสร็จแล้วก็ลงต่อทุกตัว ทว่าแม้จะเจ็บปวด ก็รู้ว่าตัวเองกำลังทำในสิ่งที่ถูกต้อง

ตอนนี้ก็ยังถือเงินก้อนสุดท้ายไว้ เผื่อว่าหุ้นเป็น L Shape หรือมีการย่ออีกระลอก 

จุดแตกต่างระหว่างคนมีประสบการณ์กับคนไม่มีประสบการณ์ คือเวลาหุ้นลง คนที่มีประสบการณ์ แม้จะปวดใจแต่ก็ยังซื้อถัว ขณะที่มือใหม่อาจจะกลัวแล้วหยุดซื้อเลย ทำให้ไม่ได้ของเวลาถูก

สิ่งสำคัญคือ “เมื่อวิกฤตผ่านไป เราต้องเติบโตขึ้น”

บางคนพลาด เพราะพอพอร์ตแดงทั้งพอร์ต ก็เลือกที่จะขายตัวที่ลบน้อย แล้วเก็บตัวที่ลบเยอะไว้ ทั้งที่จริงแล้วควรทำสลับกัน เพราะหุ้นที่ลบน้อยคือหุ้นพื้นฐานดี หุ้นที่ลบเยอะคือหุ้นแย่ ทำอย่างนี้จึงกลายเป็นการ “เด็ดดอกไม้แต่รดน้ำวัชพืช” แบบที่ปีเตอร์ ลินช์ บอก ครั้นขายแล้วเอาเงินสดมากอดไว้ กะว่าหุ้นจะลงไป 800 หรือ 600 จุด แต่แล้วก็มาไม่ถึง จึงมีแต่เสียกับเสีย

ตอนนี้ Valuation ทำยากมาก ดู P/E ก็ไม่ได้ เพราะตัว E (กำไร) ติดลบ บางบริษัทตัว R (รายได้) เป็น 0 ด้วยซ้ำไป ถ้าจะประเมินมูลค่าต้องประเมินกำไร Y1 Y2 ให้เป็นลบไปเลย แล้วค่อยประเมินกำไร Y3 Y4 เป็นบวก ก่อนจะ discount กลับมา

กอง REIT บางตัวรายได้เป็นศูนย์ ถ้าจะซื้อต้องหันไปประเมิน NAV ดูสินทรัพย์แทน

ถ้าหุ้นลงต้องซื้อถัวบ้าง หรือใช้ “ราคาเพิ่มทุน” เป็น benchmark ถ้าราคาต่ำกว่าราคาเพิ่มทุนค่อยซื้อ

ตอนนี้คุณนิ้วโป้งทำ DCA กับหุ้นโรงแรม โดยจะซื้อให้ผ่าน cycle ลบไป เพราะเชื่อว่าต่อไปต้องกลับขึ้น แต่ยังดูไม่ออกว่าจะกระทบแค่ไหน จึงใช้การ DCA เฉลี่ยซื้อไปเรื่อยๆ

** คุณนิ้วโป้งใช้การประเมินมูลค่าโดยวิธี DCF โดยจะทำ excel ไว้  ตัวอย่างเช่น ตอนนี้กำลังทำ DCF  “หุ้นโรงหนัง” โดยตีเอาว่าปีนี้ (2020) งบขาดทุน แล้วตีว่าปีหน้า (2021) กำไรจะเหลือครึ่งนึง พอปีถัดไป (2022) ค่อยให้กำไรกลับมาเท่ากับปี 2019 จากนั้นจึงค่อยลาก growth ต่อไป

หลังจากหากระแสเงินสดได้แล้ว ก็ค่อยคิดลดกลับมา ซึ่งหลังจากที่ทำ ก็ได้มูลค่าหุ้นออกมาต่ำมาก แต่แล้วราคาหุ้นก็ลงมาถึงจุดนั้นจริงๆ แม้จะใช้ประมาณการที่คิดว่า conservative มากแล้ว 

การทำ DCF เป็นการคาดการณ์กระแสเงินสด ซึ่งต้องมองในทุกแง่มุมของธุรกิจเท่าที่จะทำได้ จึงเป็นการบีบตัวเองให้มองธุรกิจให้รอบด้านที่สุด แม้จะไม่ถึงกับแม่นยำ 100% แต่ก็มีอะไรให้เรายึดเกาะ

ถ้าจะวัดมูลค่า อย่ากลัวว่าจะผิด เพราะแม้นักวิเคราะห์ก็ยังประเมินหุ้นตัวเดียวกันออกมาได้แตกต่างกันมากมาย บางทีต่างกันเป็นเท่าตัว

ตอนนี้คุณนิ้วโป้งไม่ได้ลงทุนหุ้นต่างประเทศ ลงแต่หุ้นไทย แต่เชื่อว่าในอนาคตอาจจำเป็นต้องเพิ่มหุ้นต่างประเทศเข้ามาในพอร์ตเพื่อกระจายความเสี่ยง


ดูคลิปตัวเต็มได้ทาง Club VI Youtube Channel ที่นี่