อย่ามองข้าม “กำไรตรงกลาง”

ebit

ชนิดา พัธโนทัย

หากพูดถึง งบกำไรขาดทุน ซึ่งเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานของบริษัทแล้ว จุดหลักที่นักลงทุนต้องดูก่อนเลยก็คือ “Top line” ซึ่งหมายถึง “รายได้หลัก” ของบริษัท เช่น ยอดขาย หรือ รายได้จากการให้บริการต่างๆ ว่ามีอัตราการเติบโตมากน้อยเพียงใด

อีกจุดหนึ่ง ได้แก่ “Bottom line” คือเปิดดู “ตัวเลขบรรทัดสุดท้าย” ซึ่งหมายถึง “กำไรสุทธิ” เพราะถ้าขายได้เยอะ แต่ได้กำไรกลับมาน้อย ก็ย่อมจะไม่ดี

อย่างไรก็ตาม ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่อยากให้พิจารณา คือ “กำไรที่อยู่ตรงกลาง”

กำไรที่อยู่ตรงกลางระหว่างบรรทัด หรือที่เราเรียกว่า “EBIT” ชื่อภาษาไทยคือ “กำไรก่อนหักดอกเบี้ยจ่ายและภาษี” (Earnings before interest and tax) หรือบ้างก็เรียกว่า “กำไรจากการดำเนินงาน” (Operating profit) เป็นกำไรอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน

EBIT คือกำไรที่มาจาก รายได้จากการขาย หัก ต้นทุนขาย หัก ค่าใช้จ่ายในการขาย หัก ค่าใช้จ่ายในการบริหาร พูดง่ายๆ คือ รายได้ทั้งหมดของบริษัทหักค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัท ยกเว้นเพียงสองรายการ คือ ดอกเบี้ยจ่าย และ ภาษีเงินได้

ดังนั้น EBIT จึงเอาไว้ใช้พิจารณากำไรของบริษัทที่ได้จากการประกอบกิจการจริงๆ ซึ่งยังไม่รวมผลของค่าใช้จ่ายที่เกิดจากโครงสร้างทางการเงินของบริษัท (ดอกเบี้ยจ่าย) และปัจจัยภายนอก (ภาษีเงินได้) นั่นเอง

Profits2

ในกรณีที่กิจการของบริษัทสามารถสร้างกำไรได้มาก EBIT ก็จะเยอะ แต่ถ้าบริษัทก่อหนี้ไว้เยอะ ดอกเบี้ยจ่ายก็จะมากัดกินกำไรนั้นจนลดลง …

หากเราดูกำไรแค่บรรทัดสุดท้าย เราจะมองไม่เห็นว่า จริงๆ แล้วบริษัทนี้มีผลการดำเนินงานที่ดี เพียงแต่มีภาระดอกเบี้ยเยอะ ซึ่งถ้าสามารถเคลียร์หนี้ได้หมด ก็จะเป็นอีกบริษัทหนึ่งที่น่าสนใจ

ด้วยเหตุนี้ จึงไม่แปลกที่ราคาหุ้นของบางบริษัทจะสูงขึ้นทันที เมื่อบริษัทประกาศว่าจะปรับโครงสร้างทางการเงิน หรือใช้วิธีใดก็ตามที่สามารถเคลียร์หนี้ให้น้อยลงได้ เพราะนั่นจะทำให้กำไรสุทธิค่อยๆ เพิ่ม และ P/E ก็จะลดลงตามไปด้วย (แต่ถ้าบริษัทเคลียร์หนี้ด้วยการเพิ่มทุน อันนี้ต้องดูอีกทีว่า EPS มีการ Dilute ลงมากน้อยแค่ไหน)

ดังนั้น EBIT จึงเป็นกำไรของทั้ง “ผู้ถือหุ้น” และ “เจ้าหนี้” (เนื่องจากยังไม่ได้จ่ายดอกเบี้ยออกไป) ต่างจาก Net Profit ซึ่งเป็นกำไรของ “ผู้ถือหุ้น” เท่านั้น

ยังมี “กำไรขั้นกลาง” อีกหนึ่งตัว คือ EBITDA หรือ “กำไรที่อยู่ในรูปเงินสด” ซึ่งมีความสำคัญ และจำเป็นอย่างยิ่งที่นักลงทุนจะต้องรู้ไว้ เอาไว้มาว่ากันต่อตอนหน้าค่ะ

———————-

หลักสูตร VI101 “พื้นฐานการลงทุนเน้นมูลค่า” รุ่นที่ 4 โดย Club VI  วันเสาร์ที่ 7 ก.พ. นี้ สำหรับผู้ที่อยากลงทุนแนววีไอ แต่ยังไม่มีพื้นฐานหรือพื้นฐานยังน้อย สมัครได้เลย คลิกที่นี่ 

หลักสูตรยอดนิยม VI201 “อ่านงบการเงิน” และ VI202 “ประเมินมูลค่าหุ้น” รุ่นที่ 4 สมัครได้เลย คลิกที่นี่  

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s