CPF

CPF
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

(หมายเหตุ – ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นก่อนมีข่าวการซื้อกิจการบริษัท CPP)

จดทะเบียนเป็นบริษัทตั้งแต่ปี 2521 เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2530 เดิมเป็นธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารสัตว์ ก่อนจะขยายกิจการจนครอบคลุมหลากหลายธุรกิจ

ธุรกิจในประเทศของ CPF แบ่งออกเป็นสัตว์บกและสัตว์น้ำ สัตว์บกมีไก่เนื้อ ไก่ไข่ หมู และเป็ด สัตว์น้ำมีกุ้งและปลา ทั้งธุรกิจสัตว์บกและสัตว์น้ำแบ่งออกเป็นสามประเภท คืออาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ และอาหารคน เช่น อาหารแช่แข็ง ร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด โมเดิร์นเทรดต่างๆ นอกจากนี้ CPF ยังขยายกิจการไปในหลายประเทศ ด้วยจุดมุ่งหมายที่จะเป็น “ครัวของโลก” และถือหุ้นในบริษัทร่วมที่แข็งแกร่งหลายบริษัท รวมทั้งซีพีออลล์ด้วย

ความแข็งแกร่ง

“CP” เป็นแบรนด์ที่คนไทยทั้งประเทศรู้จัก และ CPF ก็เป็นผู้นำในแทบทุกธุรกิจที่ทำ โดยมีทั้งความเชี่ยวชาญ มีอิทธิพล มีอำนาจต่อรอง จนถูกมองว่าผูกขาดในบางธุรกิจ กิจการในเครือ CPF ต่างเป็นวงจรที่เชื่อมโยงและเกื้อหนุนกันจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ สถานะทางการเงินของบริษัทฯถือว่าดีมาก แต่เนื่องจากเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ จึงมีความไม่แน่นอนจากราคาตลาด รวมถึงโรคระบาดและภัยธรรมชาติ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการได้ในบางครั้งคราว

ค่าทดสอบ 81 เต็ม 100

การเติบโต

ทั้งรายได้และกำไรของ CPF ก้าวกระโดดขึ้นมาอย่างชัดเจนตั้งแต่มีการขยายธุรกิจไปในหลายประเทศ และยังคงเติบโตอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง บริษัทฯ มีอัตราส่วนต่างกำไรที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยการประหยัดจากขนาด และก็ยังมุ่งมั่นที่จะขยายธุรกิจต่อไปเรื่อยๆ ภาพรวมในแง่ของการเติบโต ศักยภาพ และโอกาสของบริษัทฯ ถือว่าดีเยี่ยม

ค่าทดสอบ 100 เต็ม 100

ผู้บริหาร

ผู้บริหารของเครือซีพีมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจที่ทำสูงมาก โดยมีชื่อเสียงและได้การยอมรับจากทั้งในและต่างประเทศ แต่เนื่องจากอยู่ในเครือธุรกิจขนาดยักษ์ซึ่งแม้จะมีข้อดีอยู่มาก แต่นักลงทุนก็จำต้องระวังว่าผลประโยชน์ทับซ้อนกับธุรกิจในเครืออาจเกิดขึ้นได้เสมอ

ค่าทดสอบ 90 เต็ม 100

รวมค่าทดสอบศักยภาพของ CPF

79.8 เต็ม 100

[Disclaimer: บทความนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัวของผู้จัดทำ ไม่ใช่การแนะนำให้ซื้อหรือไม่ซื้อหลักทรัพย์ใดๆ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ผู้จัดทำไม่รับรองความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจากการนำข้อมูลหรือความเห็นนี้ไปใช้ไม่ว่าในกรณีใดก็ตาม]

4 thoughts on “CPF

  1. ขอเสนอมุมมองที่ต่างออกไปนะคับ
    แม้ว่า cpf จะเป็นบริษัทที่ดี
    แต่บทวิเคราะห์ที่พูดถึงไม่ไก้พูดถึง
    เรื่องที่เป็นจุดพลิกจริงๆ ที่drive cpf ขึ้นมาหรือเปล่า
    เช่นการเปลี่ยนแปลงของราคา soft commo เช่นราคา ไก่ หมู ตลอดจน วัตถุดิบที่ใช้เลี้ยง
    ซึ่งตอนที่ราคาขึ้นมา ลองตามอ่านที่คุณฮงวิเคราะห์จะเห็นได้ว่า ราคาขายเท่าเดิม แต่ถ้า มีการเปลี่ยนแปลงsoft commo จนวัตถุดิบเปลี่ยน gpm จะเปลี่ยน เยอะมาก และ fixcostเปลี่ยนไม่เยอะเท่าไหร่
    ทำให้ bottom line ดีขึ้นเป็นเท่าหรือสองเท่า
    ดังนั้น จุดนึงที่เป็นตัวชี้วัด eps คือราคา softcommo ด้วยคับ

    • ถูกต้องครับ เรื่องต้นทุนวัตถุดิบของ CPF มีความอ่อนไหวสูงมากจริงๆ ซึ่งเป็นธรรมชาติของธุรกิจนี้ และก็เป็นจุดหนึ่งที่ทำให้ VI หลายๆ คนไม่ซื้อหุ้นตัวนี้

      ประเด็นนี้เราได้นำมาพิจารณาแล้ว ไม่ได้มองข้าม (แต่อาจไม่ได้เขียนลงไป) ทว่าเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่นๆ ในแง่บวก CPF ยังได้คะแนนในระดับที่สูงอยู่ตามเกณฑ์ของเราครับ 🙂

  2. ยกตัวอย่างหยาบๆนะคับ ราคาขาย 100
    ต้นทุนวัตถุดิบ 80
    ค่าบริหารจัดการ 10 กำไรจะเท่ากับ 10
    แต่ถ้าต้นทุนลด เหลือ 70
    สังเกตว่า การบริหารจัดการคงไม่เปลี่ยนมาก ก็คงเท่าๆเดิมคือ 10
    กำไรที่ได้ จะเท่ากับ20

    จะเห็นว่า กำไรเพิ่มมาเป็น2 เท่า
    โดยที่ ต้นทุนลดจากปกติแค่ 12.5%
    [70-80]/80 *100

  3. จะเห็นได้ว่า จุดเป็นจุดตาย ของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่ ratio ทางการเงินเลยคับ

Leave a Reply

Fill in your details below or click an icon to log in:

WordPress.com Logo

You are commenting using your WordPress.com account. Log Out /  Change )

Facebook photo

You are commenting using your Facebook account. Log Out /  Change )

Connecting to %s